โพสต์โดย amijung
amijung
amijung ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
สมาชิกยังไม่ได้ออนไลน์
เมื่อ ศุกร์, 26 ตุลาคม 2012
ใน บันทึกลูกรัก
เรื่องคุยของลูกตอนที่19 เล่าเรื่องครั้งแรกสำหรับการเที่ยวแบบคาราวาน
เมื่อวันศุกร์สัปดาห์ที่แล้วเพิ่งมีโอกาสได้พาลูกสาวทั้งสองไปตระเวนทัวร์พร้อมกับทำบุญที่ต่างจังหวัดพร้อมกับคณะคาราวานคุณลุงคุณป้าทั้งหลายที่มาจากหลายๆจังหวัดซึ่งต่างก็เป็นเพื่อนคนรู้จักกับคุณป้าแท้ๆของสองสาว. ครั้งนี้ เป็นครั้งแรกสำหรับการเที่ยวที่ใช้เวลาเดินทางตระเวนเที่ยวไปเรื่อยๆกับคนแปลกหน้าที่เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อน. ซึ่งยาวนานถึง 4วัน3คืนเต็มๆ เพื่อนๆของคุณป้ามาจากจังหวัดแพร่ เชียงใหม่ ระยอง โคราช กรุงเทพ สมุทรสาคร และอีกหลายๆที่เลย มารวมตัวกันตามประสาคนเกินวัยหนุ่มวัยสาวแต่ใจไม่ยอมแก่ พักว่างจากธุรกิจการงานก็มาขับรถคาราวานตระเวนเที่ยว ตามกันไป นับได้ประมาณ 10 คัน รถของคุณป้าสองสาวมีคุณลุงคนเก่งขับรถจิ๊ป เชอโรกีให้นั่ง งานนี้ยูริเมารถสุดๆบ่นมึนหัว จะอาเจียนตลอดเลย เพราะว่า ไม่ชอบนั่งรถไกล ๆแถมยังมีโปรโมชั่นระหว่างทางเป็นทางลูกรังบ้างเป็นระยๆ กระเด้งไปกระเด้งมาแถมมีจังหวะแซง จังหวะแตะเบรคให้ตื่นตัวอีกอ่ะ(. ผู้ใหญ่ ๆเค้าสนุกกันดีจังเนอะ)คาราวานรถมีทั้งเบนซ์. และอีกหลายๆยี่ห้อ ขับตามๆ กันไป. คิดว่าผู้ใหญ่(มากกว่าดิฉันหลายปีอยู่เหมือนกัน)เค้าคงจะสนุกที่ได้ใช้วอ.(วิทยุ). พูดคุยสื่อสารแซวกันไปแซวกันมาเหมือนวัยรุ่นแหงๆเลย เลิกคุยถึงเรื่องผู้ใหญ่ร่วมทริปแล้ว คุยเรื่องโปรแกรมเที่ยวดีกว่า เพราะโอกาสเที่ยวประเภทนี้ไม่ได้มีมาบ่อยๆ โดยเฉพาะเที่ยวกับผู้สูงอายุ( แต่ใจวัยรุ่นสุดๆๆ). จุดเริ่มต้นเริ่มที่สุพรรณ. -อุทัยธานี-กาญจนบุรี- ราชบุรี- แยกย้ายกลับบ้านตัวเอง
วันศุกร์วันแรก คุณป้ากับคุณลุงมารับที่บ้านแต่เช้า. ทุกๆคนขับรถไปเจอกันที่จุดนัดพบแถวๆร้านแม่บ๊วย สุพรรณบุรี กินอาหารเที่ยงเสร็จ ก็ไปทำบุญที่ วัดป่าเลไลย์ เอมิกับยูริเพิ่งได้เจอองค์พระของจริงส่วนใหญ่จะเห็นแต่ในรูปสารคดี แวะซื้อของฝากอุดหนุนชาวบ้านไปพอประมาณ ส่วนเรื่องทำบุญไม่ต้องเป็นห่วง ยูริชอบหยอดเหรียญทำบุญตามกล่องบริจาคต่างๆอย่างมาก เรียกได้ว่าถ้าให้เงินติดตัวไปเท่าไหร่ก็หมดเกลี้ยงใส่กล่องไปหมดไม่มีเหลือเลย. ส่วนเอมิจะคอยนับว่ามีกล่องบริจาคตั้งอยู่กี่กล่อง คำนวณเงินที่จะต้องขอจากคุณแม่ว่าทั้งสองคนต้องใช้เท่าไหร่ให้เสร็จสรรพ คุณแม่เลยมีหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการทำบุญอย่างเดียวเลย ทำบุญทุกจุดที่เดินผ่านเลย ปกติแล้วโอกาสจะได้ไปวัดจริงๆน้อยมาก ส่วนใหญ่ก็มักจะใส่ซองทำบุญแทนไม่ได้ไปร่วมทำบุญจริงๆเลย. ต้องบอกว่างานนี้คุณพ่อติดธุระมาเที่ยวด้วยไม่ได้ แต่สองสาวก็ไม่ลืมขอพรและนำพระพุทธรูปองค์เล็กๆไปให้คุณพ่อด้วยหลังจากทำบุญกันเสร็จ. ก็ไปเที่ยวที่หมู่บ้านควายกันต่อ
ที่หมู่บ้านควาย มีคนเที่ยวค่อนข้างน้อย. ราคาค่าเข้าชมมีแยกเป็นคนไทย คนต่างชาติ. มีแบ่งเป็นแพคเกจราคาต่างๆ แบบเดินชมอย่างเดียว. หรือรวมดูการแสดงของควายด้วย หรืออยากจะเพิ่มนั่งเกวียนเทียมควาย ออกเดินชมรอบๆบริเวณหมู่บ้านควายโซนท้องทุ่งแปลงสาธิตเกษตร. ซึ่งถ้าจะให้ดีก็น่าจะเลือกแบบรวมทุกอย่างในราคาผู้ใหญ่ 60 บาท ถ้าเด็ก 40 บาท ค่ะ. ที่เลือกว่าจะเข้าไปชมที่นี่เพราะลูกสาวไม่เคยเห็นควายใกล้ๆ(จริงๆนะค่ะ). เคยแต่ขับรถผ่านท้องนาแล้วมีควายอยู่ไกลๆ ลิบ ๆแล้วก็ตะโกนเรียกกันให้ดูว่านั่นคือ ควายเท่านั้นเอง. มาคราวนี้ได้เจอควายจริงๆ ใกล้ ๆ ได้ยืนดูสังเกตพฤติกรรมของควายแต่ละตัว บางตัวดุมีการเอาเขามาขวิดนักท่องเที่ยวเสื้อขาดด้วย(คงจะหงุดหงิดหรือเปล่าก็ไม่ทราบ แต่โชคดีที่พี่คนนั้นเค้าไม่เป็นอะไรมาก). และทางหมู่บ้านควายก็รับผิดชอบความเสียหายดีด้วยการให้เลือกเสื้อใหม่ไปเลย. มาสัมผัสกลิ่นโคลนสาบควาย(ขอยืมคำของพี่ๆร่วมทริปหน่อยนะค่ะ)ครั้งนี้ เข้าใจว่า ควายก็น่าสงสารเหมือนกันนะ เป็นผู้ถูกใช้แรงงาน โดนสนตะพายเอาเชือกคล้องจมูกไว้ใช้งาน ถูกมัดลากจูง ให้ทำโน่้นทำนี่ เรียกได้ว่าเป็นเพื่อนผู้รับใช้ อยู่กินกับมนุษย์มาช้านานเลย ควายที่นี่เป็นควายที่มีเจ้าของ และบางตัวเป็นควายที่ได้รับการไถ่ถอนชีวิตจากโรงฆ่าสัตว์ด้วย. แถมมีควายที่แปลกๆให้ดูด้วยเช่น. ควายเผือก. ควาย 5 ขา ควายแคระ. ส่วนสัตว์อื่นๆ ก็มีค่ะ. แต่ดูแล้วน่าจะเป็นลักษณะเลี้ยงเพื่อดูเล่นๆมากกว่า เช่น. ไก่ฟ้า. กระต่าย. หนู แกะ. กิ้งก่า นกกระจอกเทศ ซึ่งแต่ละชนิดมีเพียง1-3 ตัวเท่านั้น แบบว่าเผื่อเด็กคนไหนไม่ค่อยชอบควายจะได้มีอย่างอื่นดูได้บ้าง. นอกจากนั้นจะมีบ้านเรือนไทยที่จัดเฉพาะตัวบ้านให้ดู แต่เข้าไปในห้องไม่ได้. มีสวนสมุนไพรอีกนิดหน่อยให้ได้แวะพักดูต้นไม้. จุดเด่นที่นี่น่าจะเป็นเรื่องการแสดงของควายมากกว่าที่คนเลือกเข้ามาดูกัน การแสดงดำเนินไปอย่างเรียบง่ายไม่มีความผาดโผนใดๆ. จะมีคนคอยพากย์ประกอบและมีคนที่ร่วมแสดงกับควายทำท่าตามที่บทบอกตั้งแต่การนำควายเข้ามาสวัสดี ทำความเคารพ คลาน หรือยิ้มจากนั้นก็. สาธิตขั้นตอนการทำนาตั้งแต่เริ่มต้น. ที่จะมีควายเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ไถนา เดินย่ำรวงข้าวให้เมล็ดแยกออก. หรือนำไปเดินหมุนเครื่องสีข้าว ใช้ในการเดินเพื่อหมุนที่บีบน้ำอ้อย(เพื่อเอาไปทำน้ำตาลอ้อย). ใช้ขี่ เทียมเกวียนและงานต่างๆอีกสารพัด. น่าเห็นใจควายอยู่เหมือนกันนะ. มาดูควายทำตามที่มีคนสอนในการแสดงโชว์แล้วก็คิดว่าควายน่าจะฝึกได้ แต่ว่าจะมีควายซักกี่ตัวกันที่จะรู้เรื่อง. และทำตามที่บอกถ้าได้ควายอย่างนั้นก็คงจะดีมากเลย. สองสาว มีโอกาสได้นั่งขี่บนหลังควายอยู่ซักพัก(เป็นควายแคระค่ะ วันนั้นที่ไปมีเด็กๆแค่ 2 คนนี้แหละค่ะ เลยไม่มีใครจะมาแย่งขี่ด้วย คนอื่นเค้าไปขี่ตัวโตๆกันหมดเลย ส่วนคุณแม่ขอตัวเป็นช่างกล้องอย่างเดียวดีกว่า งานนี้ไม่ถนัดเลย). จากนั้นลองไปนั่งเกวียนจริงๆที่มีคนขับเกวียนอยู่ข้างหน้า และบนเกวียนมีที่นั่งสำหรับนักท่องเที่ยวให้นั่งชมวิวรอบๆโดยมีน้องคนขับคอยตอบคำถามสารพัดเกี่ยวกับควายที่ทุกคนอยากรู้ โดยมีสองสาวคอยเจื้อยแจ้วอยู่ตลอดการเดินทางกับพี่ควายพันธุ์อินเดียที่ตัวใหญ่ล่ำบึ้กมากๆเลย ถ่ายมูลทิ้งตามทางเป็นปุ๋ยกันอยู่เรื่อยๆ คนที่อยู่กับควายคงจะชินกับกลิ่นมูลสัตว์มากๆเลย. ส่วนยูริเอามือบีบจมูกตลอดการร่วมทริปหมู่บ้านควาย แต่ก็ไม่รอดเกือบสลบเหมือนกัน กลิ่นรุนแรงมากใครจะไปเที่ยวชมที่นี่ต้องลืมคำว่า ขี้ควายกับขี่ไก่ ทิ้งไปได้เลยเพราะคุณหนีมันไม่พ้นแน่นอน
ออกจากหมู่บ้านควาย ก็ไปเดินซื้อของฝากที่. ตลาดสามชุกตลาดร้อยปี ดังสุดๆ(หมายความว่าจะยังไงก็ต้องแวะมาให้ได้เห็นร้านโค้ก. ) แต่โชคร้ายดันปรากฎว่าร้านปิดปรับปรุง 1 เดือน ซึ่งก็ไม่ได้มีกำหนดการปิดหรือเปิดที่แน่นอนใดๆ ไม่ได้มุมถ่ายรูปกับร้านมาอวดคนอื่นกันเลย. งานนี่เลยซื้อกินกันแต่ขนมทั้งนั้น เป็นที่ชื่นชอบของยูริมากเพราะว่ามีแต่ของกินไทยๆขนมไทย. ส่วนเอมิขอเพิ่มน้ำหนักด้วยการกินแคบหมูทอดอร่อยมากๆ เอมิติดใจเลยงานนี้เหมาหมด เดินได้ซักพักก็ ขนขบวนคาราวานนำเที่ยวไปเข้าพักโรงแรมกันที่อำเภอด่านช้าง เพื่อพักผ่อนในจุดที่ใกล้กับอำเภอบ้านไร่ จ.อุทัยธานี ซึ่งวัดที่จะมาทำบุญเททองหล่อองค์พระประธานนั้นพิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า มาพักให้ใกล้ๆสบายใจเวลาเดินทางไม่เร่งรีบตื่นสายก็ได้ด้วย เดี๋ยวว่างแล้วจะมาเล่าวันที่สองต่อค่ะ
คำค้นหา: ไม่ระบุคำค้นหา