รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่
ฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่
เปิดกว้างสำหรับเพื่อนสมาชิกที่ชอบการเขียน การจัดบันทึก การเขียน blog ก็คล้ายกับการที่เรามีสมุดกันคนละเล่มในนี้ อยากเขียนอะไรก็เขียน จะแบ่งให้ผู้สนใจและเพื่อน ๆ ได้อ่านแล้วมีส่วนร่วมผ่านทาง comment ก็ได้ หรือจะอยากเก็บไว้เป็นการส่วนตัวก็ได้ การเขียน blog จะช่วยทำให้เรารู้จักการเรียบเรียงเรื่องราวที่ต้องการจดบันทึก การนำเสนอ และได้แบ่งปันความรู้ นานาทัศนะต่อกัน ที่สำคัญ! ยังเป็นการบันทึกไว้ในโลกอินเตอร์เน็ตที่ใคร ๆ ก็มีโอกาสได้เห็น blog ของคุณ!
เคยไหมค่ะที่ตอนเวลาเปิดเทอมแล้วจะมีเสียงเรียกร้องจากลูกๆ หรือเด็กๆของเราว่า อยากเป็นหัวหน้าห้องจังเลย. ทำไมไม่มีคนเสนอชื่อหนู หนูอยากเป็นหัวหน้าห้องนะ หนูพร้อมจะช่วยเหลือเพื่อนๆกับอาจารย์นะค่ะ แต่ไหง ไม่มีใครคิดถึงหนูเลย. เมื่อสมัยที่เอมิจังเข้าไปเรียนอยู่ป. 1ใหม่ๆ. ลูกก็อยากเป็นหัวหน้านะ แต่ช่วงแรกๆ ยังมีเพื่อนที่สนิท หรือเข้ากัน รู้จักกันยังไม่มากพอ. จนกระทั่งวันเวลาผ่านไปประมาณเดือนกว่าๆ ก็มีการเลือกหัวหน้าห้องคนใหม่ คราวนี้มีเพื่อนเสนอชื่อให้เอมิ. แต่คะแนนที่เพื่อนๆโหวตให้น้อยกว่า เลยได้เป็นรองหัวหน้า. เธอก็ดีใจใหญ่เลยถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นหัวหน้าห้องก็เถอะ อย่างน้อยก็ดีใจที่เพื่อนให้ความไว้วางใจ เรียกว่าเริ่มได้ใจจากเพื่อนๆจะดีกว่า. (เนอะ).
หัวหน้าห้องนั้นเป็นเด็กผู้ชาย ซึ่งเอมิจังตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะเป็นเพราะว่าจำนวนเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง (ความคิดตามประสาเด็กๆที่อายุยังไม่ถึง6 ขวบเล้ย.) ยังไงๆเด็กผู้หญิงอย่างเราคงจะไม่มีโอกาสชนะเสียงที่มากกว่าของเด็กผู้ชายด้วยกันหรอก ผู้ชายเค้าก็ต้องเลือกผู้ชายด้วยกันอยู่แล้ว. (. ประมาณว่าน้อยใจนิดหนึ่งเรื่องความแตกต่างของเพศที่เข้ามาเกี่ยวข้อง). เมื่อลูกมาบ่นให้ฟังแบบนี้เลยคุยกับเอมิจังว่า. อย่างน้อยเพื่อนๆที่เป็นผู้หญิงก็รักเอมิจังนะเค้าถึงเทคะแนนให้ ส่วนคะแนนเสียงจากเด็กผู้ชายนั้น เป็นเรื่องที่เอมิจะต้องพิสูจน์ว่า เอมิก็มีความสามารถในการดูแลและทำงานตามที่อาจารย์มอบหมายได้ดี และสามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆได้ทุกแบบ เน้นความจริงใจที่มีให้เพื่อนในแบบที่เอมิเป็น อย่าฝืนตัวเอง. และทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้. ในตอนแรกเอมิก็ฟังไปอย่างงั้นเพราะยังไม่แน่ใจว่าจะทะลุทะลวงการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายระหว่างชายหญิงให้สำเร็จได้อย่างไร จนเวลาผ่านไปเกือบเดือนก็มีการเลือกหัวหน้าห้องใหม่อีกครั้ง. คราวนี้เธอได้รับเลือกเป็นหัวหน้าห้องอย่างที่เคยฝันไว้ คุณแม่เลยถามเอมิว่า อ้าว ทำไมถึงได้เป็นล่ะ. เอมิบอกว่ามีเพื่อนเด็กผู้ชายยกมือให้ด้วย (คิดว่าอย่างนั้นนะ). เลยถามว่าใครยกมือให้เอมิบ้าง. เอมิบอกว่าไม่รู้อ่ะ. อ้าว!แล้ว ชนะคะแนนกันยังไง นับคะแนนแบบไหน?? เอมิบอกว่า. หลังจากเพื่อนๆเสนอชื่อแล้ว อาจารย์ก็ให้คนที่ถูกเสนอชื่อยืนหันหลังปิดตาด้วย. ไม่ให้ดูว่าใครยกมือให้คะแนนเลือกใครบ้าง เพราะฉะนั้นคนที่ถูกเลือกจึงไม่มีโอกาสได้ล่วงรู้เลยว่าใครให้คะแนนเราบ้าง. การที่อาจารย์ให้ทำแบบนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เพื่อนๆมาโกรธหรืองอนเวลาที่เลือกตั้งเสร็จแล้ว. คุณแม่เลยถึงบางอ้อว่า. ไอ้ที่ได้เป็นหัวหน้าห้องนั้นก็เพราะคะแนนความนิยม(ชมชอบ). นั้นเพิ่มขึ้นจากเดิมนั่นเองแต่ก็ยังเป็นปริศนาต่อไปว่า ใครเลือกเราบ้าง(น้า) แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นหลัก
. สิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันว่า ถ้าเราตั้งใจจริงที่จะทำอะไรก็ไม่เกินความพยายาม. อาจจะด้วยความที่ว่าโดยลักษณะนิสัยของเอมินั้น. เอมิเป็นคนที่ร่าเริงสนุกสนาน เข้ากับคนง่าย ยิ้มง่ายมีมุขตลกๆมาให้เพื่อนๆขำ.กล้าแสดงออก. คอยช่วยเหลือเพื่อนเวลาที่เพื่อนมีปัญหา แบ่งขนมให้เวลาที่เพื่อนไม่มี(เพราะต้องรอผู้ปกครองมาก่อน). พาเพื่อนไปห้องพยาบาลเวลาที่เพื่อนไม่สบาย. ช่วยงานอาจารย์ตามที่อาจารย์มอบหมาย ขยันและตั้งใจเรียน สุดท้ายคือ ไม่เกเร ไม่แกล้งเพื่อน เล่นได้กับทุกคน ที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลนี้. เพื่อจะบอกว่า. การที่เราจะพิสูจน์ตัวของเราเองว่าเป็นคนแบบไหนที่เพื่อนๆในสังคมต้องการนั้นไม่ใช่แค่ดูหรือทำให้เห็นเพียงแค่วัน. หรือสองวันเท่านั้น. กว่าที่เพื่อนๆจะเทใจให้ต้องผ่านการเดินทาง ประสบการณ์ชีวิตเรียนรู้ความเป็นตัวตนของกันและกันนานพอสมควร กว่าจะรู้จักมักคุ้นมั่นใจและเชื่อใจกัน. กว่าที่เพื่อนๆจะยอมรับในความสามารถของเรา (ไม่ต้องพูดถึงขนาดตัวเลยค่ะ เพราะเอมินั้นตัวเล็กกว่าเพื่อนๆมาก เพื่อนส่วนใหญ่ให้ฉายาเอมิจังว่า จิ๋วแต่แจ๋ว). ยิ่งเรียนด้วยกันทำกิจกรรมร่วมกันไปผ่านเข้าสู่. ป. 2กับ ป. 3 ก็มีการคละนักเรียนในแต่ละห้องกันใหม่ ทำให้เอมิได้มีทั้งเพื่อนเก่า. และเพื่อนใหม่ที่ไม่เคยเรียนด้วยกันมาก่อน. เอมิก็ต้องเริ่มปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆกลุ่มใหม่เหมือนกัน. ความเป็นแบบฉบับเฉพาะของเอมินั้นก็ยังเป็นที่นิยมของเพื่อนๆอยู่ ความที่เป็นคนมีความรับผิดชอบ อารมณ์ดี.มีน้ำใจ ชอบแบ่งปัน พูดคุยฉะฉานเสียงดัง เพื่อนเลยให้เป็นหัวหน้าห้องอีกทุกๆปีติดต่อกันเรื่อยมา แต่ในการเป็นหัวหน้าห้องนั้นจะมีวาระ แค่คนละประมาณหนึ่งเดือนกว่าๆ แล้วก็จะมีการเลือกกันใหม่ เพราะฉะนั้นในแต่ละเทอม(ประมาณ 4 เดือนอาจจะมีคนที่ได้เป็นหัวหน้าแค่. 3คน เอง ). ในแต่ละชั้นปี. แต่ละห้องก็จะมีคนที่ได้เป็นหัวหน้าห้อง ประมาณ6 คนเท่านั้น. นับว่าเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจของเด็กๆมาก. ว่าได้มาสัมผัสกับตำแหน่งนี้. เอ ? แล้วมันดียังไงล่ะ. มันก็ดีตรงที่ว่า. ถ้าใครได้เป็นหัวหน้าห้องในช่วงที่มีกิจกรรมก็จะได้เป็นตัวแทนของห้องไปทำโน่นทำนี่ มีเรื่องให้ได้โชว์บ้างอ่ะ. แบบว่าของเอมิตอนอยู่ป.1 ได้เป็นหัวหน้าห้องตอนช่วงเข้าพรรษา เลยมีโอกาสได้เป็นตัวแทนไปถวายเทียนพรรษาที่วัด. กับทางโรงเรียนที่จัดกิจกรรมให้เด็กๆไปทำบุญ. หรือถ้าอย่างช่วงไหว้ครู ก็อาจมีโอกาสได้ถือพานไหว้ครู. ถ้าอยู่ช่วงกิจกรรมที่รุ่นพี่มีโครงการอะไรที่ต้องเกี่ยวข้องกับรุ่นน้องประถม ก็มีโอกาสเป็นตัวแทนออกไปทำกิจกรรมแทนเพื่อนๆ (ในความรู้สึกของเด็กๆคงจะดีมากๆ เหมือนเพิ่มความมีคุณค่าให้กับตัวเอง) แถมอยู่ในห้องช่วยอาจารย์ดูแลเพื่อนๆ สามารถเพิ่มลดคะแนนกลุ่มตามความประพฤติของเพื่อนๆในชั้นได้ด้วย (การมีอำนาจมันดีอย่างนี้นี่เอง). แต่ว่าสิ่งที่ต้องเตือนลูก ก็คือ. อย่าเผลอไปใช้อำนาจแบบผิดๆ ไม่อย่างนั้นเพื่อนๆที่เคยศรัทธาเรา ชอบเราก็จะหายไปทันที. เอมินั้นเป็นคนที่คุยง่าย มีเหตุผลและตรง(มาก). ฟังดูเหมือนจะขัดแย้ง แต่ลูกก็เป็นแบบนั้น. คือจะยึดความถูกต้องไว้ก่อน แต่ถ้ามีอะไร เอมิก็จะรับเอง. พร้อมลุยเอง. เป็นหัวหน้าห้องก็มีลำบากใจบ้างเหมือนกันแต่ก็ยังสนุกที่จะเป็นอยู่. สิ่งที่เอมิภูมิใจในช่วงป.3 คือ. อาจารย์ในระดับชั้น ป.3 เลือกให้เป็นหัวหน้านักเรียนของระดับชั้นป.3 (. แบบว่าดูแลเพื่อนๆทั้งชั้นเวลามีการประชุมแล้วต้องช่วยเคลียร์ให้เพื่อนๆช่วยกันเงียบๆเรียบร้อยหน่อย). อันนี้เอมิบอกและเล่าให้ฟัง ไม่เคยได้ตามไปเช็คเลยว่าลูกได้ทำจริงหรือเปล่าเนี่ย? แต่ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นเอมิจะรู้จักเพื่อนๆเยอะมากทั้งเพื่อนเก่าและเพื่อนๆที่ย้ายเข้ามาใหม่ในแต่ละปี
จนตอนนี้ที่เอมิเรียนอยู่ ป.4. วันแรกที่ไปโรงเรียน ช่วงตอนเย็นไปรับลูกเลยถามว่าปีนี้ ใครได้เป็นหัวหน้าห้องล่ะค่ะ. เอมิบอกว่า. เพื่อนๆยกมือให้เอมิเป็นหัวหน้าห้องด้วยล่ะ ยิ้มหน้าบานเลย. ตอนแรกๆ. เป็นอยู่ซักประมาณ. 2 อาทิตย์. ชักจะเริ่มมีบ่นๆว่า. เพื่อนๆ คุยกันมากเลย ชักขี้้เกียจจะจดชื่อแล้ว. ไม่อยากจดเล้ย...แต่ต้องดูแลความเรียบร้อยของห้องตอนที่อาจารย์ไม่อยู่. (มาถึงตอนนี้ชักอยากให้เพื่อนๆเป็นแทนกันบ้างท่าจะดีแฮะ). เป็นหัวหน้าห้องอยู่ประมาณเดือนกว่าๆก็ได้เวลาเลือกหัวหน้าห้องใหม่เปิดโอกาสให้เพื่อนๆมาลองรับตำแหน่งที่ใฝ่ฝันกันต่อบ้าง...
ตัวคุณแม่เองอยากบอกว่าการที่เราจะทำให้ใครมาเลือกเรานั้นเป็นเรื่องของความชอบ ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความศรัทธาในความสามารถของเพื่อน บุคลิกนิสัยส่วนตัวที่เพื่อนๆเห็นว่าดีเป็นที่ยอมรับ ไม่สามารถบังคับ ขู่เข็ญให้ใครๆมาเลือกได้. การจะทำให้เพื่อนเลือกต้องอาศัยความจริงใจ และเวลาในการเรียนรู้นิสัยกัน เป็นเรื่องที่ฝึกฝนได้ อยู่ที่ว่า สนใจจะสร้างเรื่องบุคลิกความเป็นผู้นำของลูกขึ้นมาหรือเปล่า แต่ทุกอย่างต้องเริ่มจากความอยากของลูกก่อน แล้วเค้าจะทำได้ดีที่สุด(. มันเป็นความจริงในทุกๆเรื่อง. ถ้ามีความอยากเป็นตัวผลักดัน เค้าจะทุ่มเทสุดตัวเพื่อเป้าหมายที่ต้องการ). เราในฐานะคนที่เป็นแม่ เป็นคนใกล้ชิด เป็นเพื่อนคู่คิด. ก็ต้องช่วยส่งเสริมให้กำลังใจ เพิ่มความเชื่อมั่น ให้ลูกรู้ว่า มันเป็นไปได้(ถ้าตั้งใจจริง). แนะนำเรื่องการปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆ ในทุกๆ สถานการณ์ที่ลูกแก้ปัญหาไม่ตก บางทีเราก็ต้องช่วยดูด้วยเหมือนกัน. สุดท้ายคือ. การที่จะได้เป็นหรือไม่ได้เป็นหัวหน้าห้องนั้น อาจจะไม่ได้จำเป็น หรือสำคัญสำหรับเด็กทุกคนเสมอไป เด็กบางคนอยากเป็นผู้นำ.เด็ก บางคนก็มีความสุขกับการเป็นผู้ตาม. เรื่องบางเรื่องไม่กล้าพูดแต่กล้าคุยกล้าบอกหัวหน้าห้อง เดี๋ยวหัวหน้าห้องจัดการให้เอง. เพราะเด็กบางคนนิสัยดีแต่ไม่อยากปวดหัวเรื่องเพื่อนเพราะต้องตัดสินใจ เวลาดูแลความเรียบร้อยในห้อง ก็อาจจะไม่สนใจตำแหน่งนี้ก็ได้. สำหรับคนที่อยากเป็นก็ต้องใช้ความจริงใจและใช้เวลาให้เพื่อนๆได้ร่วมกันประเมินเราก่อน ของแบบนี้ต้องให้เวลาและสถานการณ์ต่างๆเท่านั้นเป็นตัวตัดสินว่าเราเหมาะกับตำแหน่งหัวหน้าห้องไหม. ลองดูค่ะ ตำแหน่งนี้ที่ใครๆก็ใฝ่ฝันว่าสักวันต้องเป็นเราที่ได้ครอบครอง...ลูกๆของเราคงจะมีโอกาสได้เป็น หัวหน้าห้องบ้างนะค่ะ..สักครั้งหนึ่งในชีวิตของการเป็นนักเรียนที่นี่.ก้าวเล็กๆที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ การกล้าแสดงออก ฝึกความรับผิดชอบ ฝึกคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจเวลาที่มีอำนาจอยู่ในมือ น่าสนใจใช่ไหมค่ะ.. เพื่อนๆผู้ปกครอง..
www.karn.tv สื่อการสอนระดับ อนุบาล - ประถมต้น (ช่วงชั้นที่ 1) รวมแบบฝึกหัด ตัวอย่างข้อสอบ กิจกรรมเพิ่มทักษะ ข้อมูลการศึกษา โรงเรียน |