รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่


ฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่

เกมคิดราคาอาหารร้าน fast food


ป้ายโฆษณา

ป้ายโฆษณา

ก่อนซื้อโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์มือสอง ตรวจ S/N ที่แจ้งหาย/ถูกขโมยที่นี่!! BlockSerial.Com
คุณกำลังหาหรืออยากได้อะไรใน karn.tvclick ที่นี่!

 

Blog Me!

เปิดกว้างสำหรับเพื่อนสมาชิกที่ชอบการเขียน การจัดบันทึก การเขียน blog ก็คล้ายกับการที่เรามีสมุดกันคนละเล่มในนี้ อยากเขียนอะไรก็เขียน จะแบ่งให้ผู้สนใจและเพื่อน ๆ ได้อ่านแล้วมีส่วนร่วมผ่านทาง comment ก็ได้ หรือจะอยากเก็บไว้เป็นการส่วนตัวก็ได้ การเขียน blog จะช่วยทำให้เรารู้จักการเรียบเรียงเรื่องราวที่ต้องการจดบันทึก การนำเสนอ และได้แบ่งปันความรู้ นานาทัศนะต่อกัน ที่สำคัญ! ยังเป็นการบันทึกไว้ในโลกอินเตอร์เน็ตที่ใคร ๆ ก็มีโอกาสได้เห็น blog ของคุณ!

โพสต์โดย amijung
amijung
amijung ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
สมาชิกยังไม่ได้ออนไลน์
เมื่อ อาทิตย์, 01 เมษายน 2012
ใน บันทึกลูกรัก

เรื่องคุยของลูกตอนที่ 3 (ประสบการณ์เลือกร.ร. ติวเข้าสาธิต)

อีกไม่กี่วันแล้ว ยูริจัง ก็จะไปลองสอบที่  สาธิต ม.ศ.ว. นึกย้อนกลับไปเมื่อสมัยเอมิจัง พี่สาวของยูริที่เคยได้มีโอกาสไปติวตามร.ร.ที่เค้ารับสอนติวเข้าร.ร. สาธิต ต่าง ๆ  เหมือนตัวเองได้นั่งไทม์แมชชีน  กลับไปนั่งมองดูตัวเองอีกที ภาพเหล่านั้นปรากฏขึ้นมาเลย  เมื่อประมาณปี2552  - 2553  ที่น้องเตรียมตัวสอบเข้าสาธิตมันช่างเป็นเวลาที่คุณแม่ได้รับรู้ว่าการที่เราและลูกจะร่วมมือร่วมใจทำอะไรสักอย่างหนึ่งร่วมกัน มันต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างมาเกี่ยวข้องมากมาย  และเราต้องใช้ใจและความซื่อสัตย์ต่อตัวเองอย่างมากเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น  เริ่มจาก

1.  เหตุผล และเป้าหมาย ว่าทำไมต้องเป็น  ร.ร. แบบแนวสาธิต
ตอบตัวเองตอนแรกว่า  อยากลอง อยากรู้ว่าลูกเราจะมีความสามารถหรือเปล่าน้า เก่งจริงไหม  ความกล้า ความแกร่งที่จะต่อสู้ฟันฝ่ามีบ้างไหม  เรื่องแนวคิดร.ร.  รู้เพียงแค่ว่ามีชื่อเสียง ตามที่เค้าบอกต่อ  ๆกันมา  ถ้าลูกสอบติดก็ดีช่วยประหยัดค่าเรียนจากปีละแสนลงเหลือไม่กี่หมื่น  หลายสารพัดเหตุผลว่ามันช่างดีเหลือเกิน  แต่ในความเป็นจริง ไม่เคยรู้แนวการสอน  เค้าสอนกันอย่างไร  สภาพแวดล้อมที่ลูกจะต้องเจอเป็นอย่างไร วิชาการสอนดีหรือเน้นอะไรบ้างหรือเปล่า  ไม่มีทางรู้ได้เลย เพราะเวลาจะเข้าไปดูข้อมูล ก็ต้องเป็นผู้ปกครอง หรือสมาชิกถึงจะเข้าไปดูได้  ข้อมูลจากผู้ปกครองที่รู้จริงมีน้อยมาก  และแล้ว  ก็สวรรค์โปรด  ได้มาเจอเว็บน้องกานต์  ทำให้ได้มีโอกาสรู้จักคำว่า  สาธิตเกษตร  ซึ่งในชีวิตนี้ไม่เคยได้รู้ข้อมูลเลยว่า  สาธิตเกษตรมีอยู่  3 หลักสูตร คือ แบบสามัญ  (บางเขน)  แบบพหุภาษา ( อมตะนคร ชลบุรี) และแบบอินเตอร์ (บางเขน)  คุณแม่สนใจแบบพหุภาษาเพราะลูกเรียนแบบอีพี(แบบสองภาษา)  มา ถ้าจะทิ้งความรู้ที่อุตส่าห์สั่งสมมาก็น่าเสียดาย  เราอยากให้ลูกรักภาษาอังกฤษ และจีน ที่เค้ามีพื้นฐานมาบ้างแล้วต่อไป  เลยตัดสินใจว่าจะลองหาข้อมูลเพิ่มดู   เป็นโชคชะตาพาลิขิต  เข้าไปเว็บไซต์โรงเรียนพอดี กำลังประกาศรับสมัครนักเรียนพอดี เลยรีบสมัครก่อนเลยเพราะกว่าจะผ่านขั้นตอนการสมัคร  การสอบสัมภาษณ์ ทั้งเด็กและผู้ปกครอง  การยื่นเอกสารต่าง ๆอีก  ใช้เวลาเป็นเดือน ๆเลย รีบดำเนินการณ์ก่อนเลยก่อนที่จะปิดช่วงปีใหม่ในตอนนั้น 
2 .  การเตรียมตัวสอบ การเลือกที่ติวให้ลูก จะทำอย่างไรดี จะเริ่มจากอะไร  มัน งง  แบบไม่รู้  นึกไม่ออกว่าจะปรึกษาใคร เพราะเพื่อนสนิทในกลุ่มหลายคนไม่ว่าจะโรงพยาบาลไหน ๆ  ไม่มีใครมีลูก  ไม่แต่งงานกันทั้งนั้น  จะเอาอย่างไรดี    
วิธีแรกคือ  หาข้อมูลในเว็บ รับติวต่าง ๆ  ซึ่งมีเยอะมาก  ๆ ไม่เคยคิดว่าจะเยอะขนาดนี้ ทำเป็นธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย  มีทั้งจองกันก่อนเป็นปี  มีต้องจ่ายเงินมัดจำก่อน  กลัวว่าจองแล้วจะไม่มาเรียนจริง  บางทีขอให้จ่ายเป็นเงินมาเลยทั้งหมด ถ้าเลิกเรียนกลางคันก็ไม่คืนเงินให้  หรือแบบแบ่งจ่าย  สารพัดจะมีหลายแบบ  หลายเงื่อนไข  แล้วแต่ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะชอบหรือสนใจโปรโมชั่นแบบไหน   ยอมรับว่าตอนที่เลือกร.ร.ติวให้เอมิจัง  ไม่ได้ศึกษารายละเอียดการสอน หรือเนื้อหาการติวโดยละเอียดยิบเลย  อาศัยว่าลองไปเรียนดูก่อนว่ามันเป็นแบบไหน  แนวข้อสอบของลูกจะเป็นยังไงน้า  อยากเห็นข้อสอบ  มีคำถามมากมายอยากคุยกับคุณครูเรื่องการเตรียมความพร้อม  สารพัด ความคิดอยากรู้ อยากถามเต็มไปหมด  ผลสุดท้ายสนใจที่อยู่ไม่ไกลจากบ้านขับรถไปประมาณ 30 นาทีก็ถึง  (ต้องขออนุญาต ไม่เอ่ยถึงชื่อนะคะ)  คุณครูอายุยังไม่มาก  มีวุฒิจบอยู่ในเกณฑ์ดี  สภาพร.ร.ติว ค่อนข้างเหมือนบ้าน  เจ้าหน้าที่ก็คือคนในครอบครัวทำหน้าที่รวม ตั้งแต่ เจ้าของร.ร. ธุรการ และอื่น ๆ ส่วนครูที่สอนมีเพียงคนเดียว  ไม่มีผู้ช่วย รับกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 7-8 คน (แต่เราว่าใหญ่  ครูจะดูทันไหมน้อ)  ดูตามที่ลงรายละเอียดในเว็บไซต์ก็เหมือนมีผลงานทำให้เด็กสอบติดหลายคน แต่เราเองก็ไม่แน่ใจว่าจริงหรือเปล่า ก็เอ้าลองดู  คุณรู้ไหมค่ะว่าเอมิจังอึดมาก  ไปเรียนช่วงปิดเทอมทุกวันวันละ  3 ชั่วโมง  ช่วงเช้า และอีก 2 ชั่วโมง ช่วง วันเสาร์
ทำอย่างนี้เป็นเวลาครึ่งปี  นอกจากนั้น ลูกยังเรียนบัลเล่ย์ เรียนวิทยาศาสตร์ (scince  kid)  คุมอง  ศิลปะ   เรียนติวที่ร.ร.อนุบาลของเค้าเองอีกอาทิตย์ละ  1 ชั่วโมง (เตรียมความพร้อมเข้าสาธิต) กลับมาถึงบ้านลูกยังมีแรงไปวิ่งต่อ แต่พอตอนกลางคืนอ่านนิทานให้ฟังจบปุ๊บ  เอมิก็หลับปับ  เหมือนปิดสวิทซ์ไฟของตัวเอง  เค้าไม่เคยมีปัญหานอนไม่หลับเลย  พอปิดไฟปุ๊บ  หันดูอีกทีก็หลับไปแล้ว  เป็นเด็กที่ไม่ตื่นสายเลย ตื่นได้แบบไม่โยเยเลย ( ขอบคุณพระเจ้า  เราไม่ต้องมารบกับความขี้เกียจของลูก)   ค่าเรียนยอมรับว่าตัวเองลงทุนไปมากทั้งเวลา เงิน และ ใจ ลองเช็คราคาดูได้ตามเบอร์โทรศัพท์ของแต่ละที่ติว(ส่วนใหญ่ค่าติวชั่วโมงละ500บาท  ขึ้นไป)
    ส่วนการติวที่บ้านขอบอกว่าทำอย่างที่พี่อ้อย  คุณแม่น้องกานต์ทำเกือบเหมือนกันทุกอย่างเลยค่ะ เนื่องจาก เราชอบสอน ชอบคุย บอกอธิบายกับลูกอยู่แล้ว  แนวทางการสอนลูกของพี่อ้อยเป็นเหมือนเช็คชีทสำหรับตัวเองเลยว่าอะไรที่ยังไม่ได้ลองสอนลองบอกลูกบ้าง  เหมือนพี่อ้อยเป็นติวเตอร์ของแม่เฮี้ยงเลยค่ะ(ที่พึ่งทางใจอย่างเงียบ ๆ ของแม่เฮี้ยงอีกทางหนึ่ง)
3.  การเลือกจะสอบสาธิตอะไรดี
ก็ต้องมาเช็คว่าลูกอยู่ในเกณฑ์อายุเท่าไหร่ตามแต่ละโรงเรียนจะกำหนด  ต้องดูให้ดี ๆนะค่ะ  เดี๋ยวอาจจะงง  หลง ๆ  ไปได้ นับเดือนให้ตรงตามเกณฑ์แบบเป๊ะ  ๆ ห้ามเลยห้ามขาด ไม่มีการยืดหยุ่นใด ๆ ทั้งสิ้น
จนสุดท้ายถึงเวลาสอบเราต้องเลือกว่าจะสอบระหว่างสาธิต  ม.ศ.ว.  จุฬา  หรือสาธิต บางเขน  ตัวคุณแม่เอง คิดว่าลูกเหมาะกับร.ร.สาธิต จุฬา เพราะเท่าที่สังเกต  ลูกชอบคิดนอกกรอบ มองเห็นอะไรที่คนอื่นมองไม่เห็น แต่ว่าการฟังใจจับความยาวทำได้ไม่แม่น ไม่คงที่ ไม่สม่ำเสมอ  เพราะเคยติวลูกเล่าเนื้อเรื่องยาว  ๆแล้วให้เลือกคำตอบ ไม่เคยตอบถูกหมดจะต้องมีผิด 2-3  ใน 5 ข้อ  ในแต่ละบทความ  เรารู้ว่าลูกจำไม่ได้ละเอียดแน่ ๆ  ไม่มีทางเป็นไปได้เพราะลูกเราฟังไว คิดไว ตอบไว  ไอ้ที่จะมานั่งฟังเนื้อหานิทานยาว  ๆ ครึ่งหน้าแล้วเลือกตอบแบบต้องสรุปใจความทั้งหมดเห็นท่าจะยากแฮะ  อย่างเช่น (ลองดู นะคะ)
ในป่าแห่งหนึ่งมีสัตว์ต่าง ๆมากมาย เพื่อนสัตว์แต่ละตัวต่างเอื้อเฟื้อกัน   เจ้าสิงโตใจดีให้ม้าขึ้นขี่ เจ้าหมูมาอยู่บนหลังม้า  ต่อมาเจ้านกยูง  เจ้าช้างนึกสงสารให้เจ้าสิงโตขึ้นหลัง  พาเที่ยวชมป่ามาเจอเจ้าลิงกับกระรอก เจ้าลิงบอกเพื่อนรักกระรอกขอขึ้นก่อนแล้วจึงให้เพื่อนรักขึ้นตามมา   ถามว่าในเรื่องมีสัตว์ทั้งหมดกี่ตัว และสัตว์ตัวใดไม่เกี่ยวข้อง  สัตว์ที่อยู่ก่อนลำดับสุดท้ายคือใคร  สัตว์ที่อยู่ล่างที่สุดคือใคร  ถามว่าใครอยู่บนหลังม้า เป็นอย่างไรค่ะ ขอให้อ่านรอบเดียว และไม่มีจังหวะหยุดพักนะคะ  ขนาดเราเป็นผู้ใหญ่เองยังฟังไม่ทันเลยค่ะ  เด็กอ่านหนังสือไม่ออก  ข้อสอบมศว. มีแต่รูปภาพ เด็กต้องฟังคิดตามลำดับภาพพร้อมกันไปเลยไม่อย่างนั้นจำไม่ได้แน่นอน  แถมมีการเปลี่ยนเครื่องหมายเป็นช่วง ๆด้วย  แค่ฟังแนวการสอบก็คิดว่าจะไหวหรือเปล่าน้อ (ก็ลองดู   อีกแล้ว)  
พอมาเปรียบเทียบเรื่องอนุกรม เรื่องมิติสัมพัทธ์ ที่เราว่าลูกคงไม่เข้าใจแน่ ๆ เรื่องมุม เรื่องพับกล่อง เรื่องเหตุผล กลับทำได้ค่อนข้างดี แต่ไม่ได้คะแนนพุ่งมาก คุณครูบอกว่าน้องยังต้องเพิ่มทักษะความรู้เรื่องต่าง ๆพอสอนรู้แล้วก็หัวไว ใช้เวลาสอนไม่นานก็ตอบได้แต่ต้องบอกหรือสอนให้เจอโจทย์เยอะ ๆ ซึ่งก็เป็นจริง พอเอาข้อสอบให้ทำบ่อยขึ้นสามารถเลือกคำตอบได้ถูกต้องมากขึ้น  แต่เรื่องการจับใจความการฟังเนื้อหายาว ๆเกินกว่า 3 บรรทัด ก็ตกม้าตายทุกทีไม่เคยรอด ยกเว้นแต่ว่าเนื้อหาไม่ซับซ้อนมากเหมือนนิทานเด็ก ๆทั่ว ๆ ไปจะสบายมาก  แต่ถ้าฟังแล้วต้องมาจำลักษณะของแต่ละอย่างจำได้ไม่ครบทั้งหมดซักที
ตามที่ใคร ๆก็บอกว่าอายุที่แตกต่างจะมีผลทำให้การทำข้อสอบของเด็กแตกต่างกัน  เราเห็นลูกเสียเปรียบถ้าจะสอบสาธิตเกษตรหรือ  จุฬา  เพราะกลายเป็นเด็กเล็กไปเลย  เลยเอาม.ศ.ว. อย่างเดียวเพราะเรารู้ว่าวิ่งสอบสองที่คงไม่ไหวแน่ 
4.  วันสอบ  อยากจะบอกว่าคนมากมายมหาศาลมาจากไหนเยอะแยะ  ทั้งผู้ปกครองและเด็กๆทุกคนก็มีลำแสงของความคาดหวัง  ของความมุ่งมั่น ตั้งใจ อย่างมาก ส่องประกายออกมาจากดวงตา และท่าทาง   ส่วนเด็กคนไหนร้องไห้งอแง พ่อแม่ก็อยากจะร้องไห้ตามเพราะรู้แล้วว่าโอกาสนี้มีครั้งเดียวมันก็คงจะจบกันซะแล้ว  น่าเห็นใจอย่างมาก ๆ (อาจจะมีผู้ปกครองบางคนคิดว่า  ดีเป็นการตัดผู้แข่งขันออกไปได้)  แต่มันก็ไม่ใช่ทั้งหมดใช่ไหมค่ะ  กว่าเค้าจะลงทุนทุกสิ่งทุกอย่างจนผ่านมาถึงวันนี้  เราผ่านเราเจอมาเราเข้าใจดี  ได้แต่ส่งกำลังใจเงียบ ๆ ว่า สู้ ๆนะหนูนะ อย่าร้องไห้  เงียบซะนะ  ถ้าไม่ติดว่าเราจะยุ่งกับลูกเค้าเกินไปไหมเนี่ย จะเดินไปปลอบใจให้จริง ๆด้วย   (คิดในใจว่าเค้าจะว่าเราไหมเนี่ย)  ทุกอย่างในวันนั้น  ได้หมดทุกอย่างสำหรับลูก   ช่างโชคดีเหลือเกิน ที่ลูกอารมณ์ดีไม่มีหงุดหงิด ดูท่าอยากจะสอบ  ๆให้มันจบ ๆไปซะทีแล้ว
5. ประกาศผลสอบ  ผลสุดท้าย ลูกสอบม.ศ.ว. ไม่ติด   แต่มีประกาศจากของสาธิตเกษตร  พหุภาษาว่า  สอบผ่านให้ไปรายงานตัว เตรียมเข้ามอบตัว  เราเลยคิดว่า ลูกเราไม่เหมาะกับ  ม.ศ.ว. จริง ๆ ด้วย    ช่างเป็นโชคชะตาฟ้าลิขิตจริง  ๆได้มาเจอ  เว็บน้องกานต์  ได้มาอยู่สาธิตเกษตร พหุภาษา ได้มาเจอประสบการณ์ที่แปลกใหม่ที่น้อยคนจะได้เข้ามาสัมผัส    สุดท้ายต้องขอบใจลูกที่เป็นสุดยอดในใจของแม่ ช่างน่ารัก  อึด  สู้ มุมานะ  ไม่ท้อ  ถึงมีบ่นเหนื่อยบ้างตามประสาเด็ก  แต่ก็ยอมรับฟัง และรับผิดชอบการเรียนได้ดี ไม่เคยขาดเลยตอนช่วงที่เตรียมตัวติวเข้า  ร.ร.สาธิต  รู้ว่าลูกเหนื่อย แต่ทิฐิ  ความคาดหวัง  ความอยากลอง  กิเลสในใจของแม่ผลักดันให้พยายาม  ๆ  ๆ  ๆจนท้ายที่สุด โชคชะตา และเวลา ผ่านมาจนถึงบัดนี้ลูกแม่  น้องเอมิจังคนเก่งก้กำลังจะขึ้นป. 3แล้ว  เหมือนเหตุการณ์เกี่ยวกับการสอบเข้าของลูกเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้เอง
6.  ข้อคิดจากประสบการณ์ครั้งนี้สำหรับเอมิ

 1 . การติวที่ร.ร.สอนติวต่าง ๆที่รับกวดวิชา ไม่ได้รับประกันว่าลูกของเราจะสอบติด  ขึ้นอยู่กับตัวของเด็กเองทั้งมวลทั้งสิ้น  ความสามารถเฉพาะตัว  เฉพาะแบบ ที่ต้องค่อย ๆสร้าง ไม่มีเด็กคนไหนเก่งจากการไปติวเพียง 2- 3 เดือน แม้ว่าจะอินเทนซีฟ  เข้มข้นมากมายแค่ไหนก็ตามที  
2.หากคิดจะลองสอบกรุณาขีดเส้นของความคาดหวังออกจากความตั้งใจสอบอย่างจริงจัง  เพราะบางครั้ง ตัวเองก็เคยมีอาการสับสนในตัวเอง  แบบว่าตอนแรกแค่ลอง  พอคุณครูพูดให้ความหวังชักจะมีกำลังใจ  บ้าติวลูกมาก ขนาดบางทีลืมเวลาพักของลูก  ต้องเบรคตัวเอง  ไม่ใช่เบรคลูกซะแล้ว  หรือพอบางทีลูกอยากไปเล่นกับเพื่อนแต่แบบฝึกหัดยังทำไม่เสร็จ เราก็ต้องมีข้อต่อรองเยอะแยะมากมาย  (ทำไปได้นะเรา)  แล้วพอสุดท้ายความคาดหวังที่ถูกผลักดันไว้ มันไม่ตรงกับอาการการขยันขันแข็งของลูกเท่ากับที่เรามี  ก็อดจะมีเคือง ๆ ลูกไม่ได้ ประเภทห้ามไฟในตัวตกนะลูก ( ช่างโหดร้ายกับเด็กเหลือเกิน)
3. การติวลูกไม่ได้ทำให้ลูกสามารถสอบติดได้ตามที่เราหวังไว้แต่เป็นบททดสอบความเป็นคน   ความเป็นพ่อ เป็นแม่ ความรับผิดชอบของสังคมหน่วยเล็ก ๆที่เรียกว่าครอบครัว  ว่ากำลังจะเสริมสร้างให้ลูกเป็นต้นกล้าแบบไหน  (ให้รู้จักกล้าสู้  กล้าเผชิญความจริง กล้ายอมรับความพ่ายแพ้  รู้จักอิ่มเอมกับมิตรภาพจากเพื่อนใหม่  หรือประสบการณ์ใหม่ ๆหรือไหม  )
อย่างน้อย เราก็รู้จักและรู้ใจลูกเรามากขึ้น เหมือนว่าถ้าไม่มีวิกฤต  ก็คงไม่เกิดโอกาส    การที่เราติวลูกทำให้เค้าคล่องทางความคิดมากขึ้น  ตัวคุณแม่รู้สึกอย่างนั้น  เค้ามีระเบียบในตัวเอง และเรารักเค้ามากขึ้น ๆในทุก ๆวัน ที่เราได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกัน   เหมือนผ่านสมรภูมิรบมาด้วยกันยังไงยังงั้นเลย   ต้องขอบใจลูกที่ช่วยสอนประสบการณ์การสร้างคนให้กับแม่อีกบทเรียนหนึ่งนะจ๊ะ เอมิจัง   (เจ้าลูกลิงน้อยของแม่   รักนะจุ๊บ  ๆ  นะลูก)
 เดี๋ยวว่างจะมาคุยต่อนะคะ เรื่องประสบการณ์การติวลูกคนที่สอง  ก็เจอคนล่ะแบบจริง ๆ แบบหน้ามือกับหลังมือเลยล่ะค่ะ
โหวตให้คะแนนบทความนี้
คำค้นหา: ไม่ระบุคำค้นหา
amijung (657 คะแนนที่ได้รับ)
amijung ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
เหรียญรางวัล:

ความคิดเห็น

แม่น้องกานต์
แม่น้องกานต์
แม่น้องกานต์ ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
สมาชิกยังไม่ได้ออนไลน์
แม่น้องกานต์ จันทร์, 02 เมษายน 2012

นับเป็นประสบการณ์ความเครียดที่คนเคยผ่านมาเท่านั้นที่จะเข้าใจ ^_^ โชคดีที่อ้อยผ่านแค่ครั้งเดียว
แต่คุณเฮี้ยงต้องอึดกว่า 2 เท่าค่ะ เพราะสู้เพื่อลูกถึง 2 คน
เส้นทางการต่อสู้ของเอมิจังโหดมากค่ะ ยอมรับว่าเธออึดและเป็นนักสู้จริงๆ เรียนเสริมมากมายอ่านแล้วก็อยากติดตาม
ต่อว่าถึงคราวของยูริจัง จะออกมาแนวไหน
วันที่ 3 นี้ลูกเพื่อนจะไปสอบมศว.ประสานมิตรค่ะ อ้อยยังแซวเขาว่า "ฝากบอกลูกนะว่าไม่ต้องเครียด ทำชีทให้สนุกๆ
(เรื่องเครียดเดี๋ยวแม่จะเครียดให้เอง) ฮ่าฮ่า"

การพาลูกลงสนามสอบเข้า ป.1 ไม่ว่าจะเป้นแนวสาธิต หรือ แนววิชาการ ก็เป็นเรื่องที่เหนื่อยมากของทั้งเด็กและพ่อแม่
แต่ละครอบครัวก็มีแนวคิดต่างกันไป หลายๆครอบครัวไม่อยากให้เด็กตัวแค่นี้ต้องมาเครียดกับการติว ไม่อยากให้ลูกต้องบอบช้ำจากความผิดหวังเกรงว่าหัวใจดวงน้อยๆจะรับไม่ได้พลอยหมดกำลังใจไปเลย แต่ชีวิตก็คือการต่อสู้ถึงไม่สู้วันนี้วันหน้าก็ต้องลงสนามอยู่ดี โดยส่วนตัวคิดว่าการเปิดโอกาสให้ลูกได้เห็นโลกภายนอกว่าการแข่งขันสูงเพียงใด อาจเป็นวัคซีนที่ดีช่วยทำให้ลูกแกร่งขึ้น ถึงสอบไม่ได้ก็ยังมีมุมดีๆให้มองอย่างที่แม่เฮี้ยงบอกน่ะค่ะ

ในหนังสือ อัจฉริยะฝึกได้ก่อนวัย12 หน้า 88 เขียนไว้ว่า ต้องเป็นคนชอบแข่งขัน
http://www.karn.tv/mod_content/genius.jpg

ก็ไม่รู้ว่าการติวลูกและพาลงสนามสอบตั้งแต่เล็ก เป็นผลผลักดันให้ทุกวันนี้กานต์มีความเป็นนักสู้ในตัวหรือเปล่า
เขาอยากลองสอบดูแทบทุกสนามแม้ว่าบางรายการจะต้องสอบวัดกับพี่ ป.6 ก็ยังอยากจะลองไม่กลัวที่จะแพ้

amijung
amijung
amijung ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
สมาชิกยังไม่ได้ออนไลน์
amijung อาทิตย์, 22 เมษายน 2012

อย่าลืมตามไปอ่านต่อตอนที่4 กับ 5นะค่ะ เผื่อว่าเพื่อนๆผู้ปกครองจะได้ไอเดียเกี่ยวกับการเลือกโรงเรียนติวเข้าสาธิตให้ลูกนะคะ

กรุณา เข้าระบบ หากต้องการแสดงความคิดเห็นของคุณ