รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่


ฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่

เกมคิดราคาอาหารร้าน fast food


ป้ายโฆษณา

ป้ายโฆษณา

ก่อนซื้อโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์มือสอง ตรวจ S/N ที่แจ้งหาย/ถูกขโมยที่นี่!! BlockSerial.Com
คุณกำลังหาหรืออยากได้อะไรใน karn.tvclick ที่นี่!

การบาดเจ็บที่ตาและการปฐมพยาบาล

พิมพ์อีเมล

( 14 Votes )
การบาดเจ็บที่ตาและการปฐมพยาบาล

การบาดเจ็บที่ตาเป็นการบาดเจ็บที่พบได้ในเด็ก ที่ผู้ใหญ่ต้องทราบถึงชนิดและการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง ก่อนที่จะพบแพทย์ เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับตา ที่พบบ่อยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. บาดเจ็บจากการกระแทก
    มีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่ว่าการเดินชน เล่น เช่น อัดลูกบอลเข้าหน้าเข้าตากัน ถูกเพื่อนชกที่เบ้าตาหรือเล่นของอันตราย เช่น ปืนอัดลม เศษสิ่งของกระเด็นเข้าตา ผงทราย ฝุ่นผง เศษไม้ หรือเศษหญ้าคมกระเด็นเข้าตาได้ อาจทำให้เกิดอาการต่างดังนี้
  • หนังตาฟกช้ำ เมื่อเกิดการกระแทกขึ้น ส่วนใหญ่แล้วหนังตาจะได้รับบาดเจ็บร่วมด้วยหากการกระแทกไม่รุนแรง หรือความเร็วของวัสดุต่าง ๆที่มากระแทกไม่แรงมาก อาจพบการบาดเจ็บของหนังตาโดยไม่มีการบาดเจ็บของลูกตาเลยก็ได้ หนังตาบนจะมีการฟกช้ำได้ง่ายอาการบวมช้ำเขียวซึ่งเกิดจากเลือดออกใต้ชั้นผิว หนังนั้นจะมีการเซาะลงหนังตาล่างได้และทำให้บวมมากจนปิดตา การปฐมพยาบาลใช้การประคบด้วยผ้าชุบน้ำเย็นหรือผ้าห่อน้ำแข็งลงบนหนังตาใน 24 ชั่วโมงแรก จะลดอาการบวมได้มาก อย่างไรก็ตามการแรงประคบนี้ต้องรู้ก่อนว่าไม่มีการแตกหรือฉีกตาของลูกตา
  • เลือดออกเยื่อบุตาขาว ในบริเวณตาขาวอาจพบเลือดออกได้ ภายหลังจากการถูกกระแทกหรือแม้แต่การไอจามแรงอาจพบได้เช่นกัน เลือดออกที่ตาขาวนี้ไม่ได้บ่งบอกถึงความรุนแรงของการบาดเจ็บ หากเด็กไม่มีอาการอื่น เช่น เจ็บหรือระคายเคืองตา ไม่มีความจำเป็นต้องให้การรักษาใดรอยเลือดออกนี้จะหายเองได้ภายในสองสัปดาห์
  • สิ่งแปลกปลอมบนเยื่อบุตาขาว อาจมาจากแรงลม เช่น นั่งบนมอเตอร์ไซด์ต้านลม หรือชิ้นส่วนวัสดุต่างกระเด็นเข้าตา สิ่งแปลกปลอมที่ติดบนเยื่อบุตาขาวอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองตา มีอาการเจ็บ หรือมีน้ำตาไหลได้ สิ่งแปลกปลอมบางครั้งจะติดบนเยื่อบุด้านในของหนังตาบน ทำให้มองไม่เห็น เมื่อเด็กกระพริบตาสิ่งแปลกปลอมนี้จะขูดลงบนกระจกตา เกิดการถลอกของกระจกตา ทำให้มีอาการเคืองตาอย่างมาก วิธีการปฐมพยาบาล คือล้างตาด้วยน้ำสะอาด ถ้ามีการบาดเจ็บจาการกระแทกร่วมด้วย เช่น จากเศษโลหะพุ่งใส่ด้วยความเร็วสูง อย่าล้างตาเอง ให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจก่อนเสมอ หากมีเพียงสิ่งแปลกปลอมบนเยื่อบุตาขาว แต่ล้างไม่ออก แพทย์จะใส่ยาชาเฉพาะที่และใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำหมาดเขี่ยออก
  • กระจกตาถลอก แผลถลอกบนกระจกตามักเกิดจากการขูดของวัสดุต่างหรือสิ่งแปลก
    ปลอมที่ตำแหน่งด้านในของหนังตาบน จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง เจ็บอย่างมากได้
    การรักษาแผลถลอกบนกระจกตานี้ทำได้โดยการหยอดยาป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและ
    ปิดตาไว้นาน 24 ชั่วโมง บาดแผลถลอกจะหายไปเอง
  • สิ่งแปลกปลอมบนกระจกตา เกิดจากสิ่งแปลกปลอมกระเด็นไปติดแน่นที่บริเวณกระจกตาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเศษ โลหะที่เกิดจากการเชื่อมโลหะ ซึ่งเด็กสนใจไปยืนดูหรือทดลองทำเป็นต้น สิ่งแปลกปลอมบนกระจกตาทำให้ระคายเคือง น้ำตาไหล ไม่สามารถล้างออกได้ง่ายต้องพบแพทย์เพื่อหยอดยาชา และเขี่ยออกด้วยไม้พันสำลีชุบน้ำหมาดหรือใช้เข็มเขี่ยต้องให้แพทย์ที่มีความชำนาญ ในครั้งมีสนิมเกาะอยู่รอบ ๆสิ่งแปลกปลอมชิ้นนั้นบนกระจกตาได้ ไม่สามารถเอาสนิมออกได้ในวันแรก จึงต้องหยอดยาป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียไว้ก่อนหลังจากนั้น 24 ชั่วโมง กระจกตาจะมีความอ่อนนิ่มลงและเอาสนิมออกจะกระทำได้ง่าย
  • เลือดออกในช่องลูกตาด้านหน้า มักเกิดจากการกระแทกของปืนอัดลม ลูกเทนนิส บนเส้นเลือด ม่านตา ทำให้เกิดเลือดออก ขังในช่องด้านหน้าลูกตา ซึ่งมองเห็นระดับเลือดในลูกตาดำได้ คล้ายมองดูระดับน้ำในแก้วน้ำภาวะนี้ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษหากมีเลือดออก ในช่องลูกตานี้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะเกิดภาวะเลือดออกซ้ำได้ร้อยละ 20 ภาวะเลือดออกซ้ำจะมีความรุนแรงกว่าครั้งแรกเสมอ การรักษาภาวะนี้คือการนอนพักแบบอยู่นิ่งเป็นเวลา 5 วัน 

 2. บาดเจ็บจากของมีคมแทงทะลุ
    ทำให้เกิดการบาดเจ็บของหนังตา และลูกตาได้ การฉีกขาดของหนังตาที่ไม่ลึกและเป็นแผลในแนวนอน ไม่มีการบาดเจ็บในลูกตา อาจจะดูแลเองได้ด้วยการทำแผลธรรมดา แต่ถ้าเป็นแผลลึก แผลในแนวตั้ง มีการฉีกขาดของขอบหนังตา และมีอาการเคืองตา เจ็บตาร่วมด้วย ควรพาเด็กไปพบแพทย์ การบาดเจ็บจากของมีคมแทงทะลุเข้าไปในลูกตา ต้องรีบนำเด็กส่งโรงพยาบาลโดยหลีกเลี่ยงการดึง ของมีคมนั้นออกมาจากลูกตา
      ข้อควรระวัง ในการปฐมพยาบาลการบาดเจ็บจากถูกกระแทกหรือของมีคมแทงทะลุในลูกตาการบาดเจ็บ ที่รุนแรง เช่น ถูกกระแทกอย่างแรงของลูกบอล ลูกเทนนิส ถูกยิงโดยกระสุนปืนอัดลมหรือถูกทิ่มแทงโดยวัสดุมีคม ข้อควรระวังอย่างยิ่ง คือ อย่าล้างตา แม้ว่ามีอาการเจ็บหรือระคายเคืองและอย่ากดแรงลงบนลูกตา เพราะถ้ามีการบาดเจ็บถึงขั้นฉีกขาดของลูกตาแล้ว การกดจะทำให้ชิ้นส่วนต่างทะลักออกมาได้ ดังนั้น การปฐมพยาบาลที่ต้องหลีกเลี่ยง คือ การใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสำลีกดอัดลงบนลูกตาและปิดแน่น ควรใช้ที่ครอบลูกตาแทน เช่น โลหะ พลาสติกครอบลูกตา หากหาไม่ได้ใช้ถ้วยกระดาษแบบกรวย หรือกระป๋องขนาดที่เหมาะสมต่างครอบลูกตาไว้เพื่อป้องกันเด็กใช้มือจับกด และนำส่งจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

3. บาดเจ็บจากสารเคมีและความร้อน

            การบาดเจ็บจากสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นกรด ด่าง น้ำยาเคมีต่างเช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้าน้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาเช็ดกระจก น้ำมันเครื่อง สิ่งที่ต้องทำทันที คือ รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดโดยเร็วและใช้น้ำมากกว่า 1 ลิตรขึ้นไป หากมีอาการระคายเคืองมาก และรู้ว่าสารเคมีที่สัมผัสนั้นเป็นกรดหรือด่างที่รุนแรง ห้ามขยี้ตา เพราะการขยี้ตานั้นทำให้บาดแผลที่ตาจะถลอก และเป็นแผลลึกมากขึ้น หลังการล้างตาให้ครอบตาก่อนพบแพทย์กาวสารพัดประโยชน์ ที่ทาติดแน่นทันที ฤทธิ์ ของกาว นี้จะทำให้ปวดแสบปวดร้อน ควรล้างตาด้วยน้ำมากก่อนนำส่งพบแพทย์ กรณีที่กาวติดหนังตา ไม่ปวดแสบปวดร้อน ให้ล้างเปลือกตาด้วยน้ำอุ่นบ่อยแล้วหนังตาจะค่อยหลุดออกจากกันภายใน 1 – 4 วัน ห้ามใช้แรงดึงเพื่อแยกหนังตาออก เพราะอาจเกิดเป็นบาดแผลติดเชื้อ แผลความร้อนบนกระจกตา มักเกิดจากบุหรี่ เตารีด หรือน้ำมันร้อนกระเด็น อาจทำให้กระจกตามีสีขาวขุ่น อย่างไรก็ตาม น้ำตาที่เคลือบลูกตาอยู่จะลดความรุนแรงของความร้อนได้ การรักษาทำได้โดยรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดให้มากและนานเพื่อลดความร้อนและชะล้างเศษสิ่งแปลกปลอม และชะล้างเนื้อเยื่อที่ถูกลวกเผาเป็นรอยไหม้ให้หลุดออกไป หยอดตาด้วยยาป้องกันการติดเชื้อ แบคทีเรีย ปิดตาไว้ และพาไปพบแพทย์ อาการกระจกตาขุ่นขาวจะดีขึ้น และหายเองได้ต่อไปคลื่นที่ผ่านตามขอบประตูของเตาไมโครเวฟมีผลต่อลูกตาได้ เช่นเดียวกับแสงอุลตราไวโอเลต ที่ทำให้เซลผิวหน้าของตาดำเกิดแผลถลอก อาการหลังจากถูกแสงประมาณ 4 – 6 ชั่งโมง จะเริ่มมีอาการเคืองตา ปวดตามาก น้ำตาไหลได้

 

ที่มา : ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ขอขอบคุณ : http://www.csip.org