รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่


ฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่

เกมคิดราคาอาหารร้าน fast food


ป้ายโฆษณา

ป้ายโฆษณา

ก่อนซื้อโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์มือสอง ตรวจ S/N ที่แจ้งหาย/ถูกขโมยที่นี่!! BlockSerial.Com
คุณกำลังหาหรืออยากได้อะไรใน karn.tvclick ที่นี่!

เปลี่ยนเจ้าตัวน้อยแสนดื้อด้วยรอยยึ้ม

พิมพ์อีเมล

( 5 Votes )
เปลี่ยนเจ้าตัวน้อยแสนดื้อด้วยรอยยึ้ม
อาการดื้อของเจ้าตัวน้อย คือ การที่เด็กไม่ยอมทำตามคำสั่งของผู้ใหญ่ หรือไม่ยอมทำตามกฎระเบียบที่กำหนดเอาไว้ เด็กอาจไม่ยอมทำตามหรือทำแค่ครึ่งๆกลางๆไม่ยอมทำให้เสร็จ อาการดื้อของเจ้าตัวน้อยเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัวได้บ่อยๆพร้อมทั้งรอยยิ้มในบ้านจะจาง หายไปได้


สาเหตุของเด็กดื้อ

1.สาเหตุทางกายภาพ ความบกพร่องทางสมองหลายอย่างทำให้เจ้าตัวน้อยกลายเป็นเด็กดื้อ ได้แก่ สมองอักเสบ การกระทบกระเทือนทางสมอง ลมชัก สมาธิสั้น พัฒนาการทางภาษาหรือทางสติปัญญาล่าช้า

2.พื้นฐานทางอารมณ์ของเด็ก เด็กบางคนมีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่ายตั้งแต่เล็กๆ เมื่อได้พบสิ่งแปลกใหม่จะตอบสนองทางอารมณ์อย่างรุนแรง

3.สภาพจิตใจขณะนั้น เช่น เวลาเด็กเหนื่อย หิว ง่วงนอน หรือถูกปลุกหลังจากนอนหลับใหม่ๆสภาพดังกล่าว เด็กจะหงุดหงิด พูดจาไม่รู้เรื่อง ดื้อ ไม่เชื่อฟังได้บ่อย

4.เป็นไปตามขั้นตอนพัฒนาการ เด็กวัย2-3ปี เริ่มอยากทำอะไรด้วยตนเอง ต้องการสำรวจสิ่งแวดล้อมในสิ่งที่สายตาผู้ใหญามองว่าเป็นอันตราย เช่น การปีนที่สูง เอามือแหย่ปลั๊กไฟ เล่นของมีคม ฯลฯ เมื่อผู้ใหญ่ห้ามปรามหรือดุว่าเด็กจะโกรธและแสดงออกด้วยการต่อต้าน ดื้อหรือทุบตีคนอื่น

5.ความตึงเครียดในครอบครัว ได้แก่ พ่อแม่ทะเลาะกัน มีการทำร้ายกันในครอบครัว ญาติป่วยหนักหรือเสียชีวิต ทำให้เด็กมีอารมณ์หงุดหงิด ดื้อ ก้าวร้าวอาจเกิดปัญหาพฤติกรรมตามมา

6.การเลี้ยงดู หรือวิธีที่พ่อแม่ใช้จัดการกับพฤติกรรมของเด็กอย่างไม่เหมาะสม เช่น การเลี้ยงแบบตามใจมากเกินไป ผลคือทำให้เด็กเคยตัว จะเอาอะไรต้องเอาให้ได้ ถ้าถูกขัดใจอาละวาด หรือเลี้ยงแบบลงโทษเด็กอย่างรุนแรงเมื่อเด็กทำผิด อาจมีสาเหตุจามพ่อแม่เป็นคนหงุดหงิด การควบคุมตัวเองไม่ดีมักลงโทษเฆี่ยนตีเด็กมากหรือหนักแน่นเกินความจำเป็น หรือลงโทษโดยไม่มีเหตุผล ทำให้เด็กต่อต้านพ่อแม่และดื้อมากขึ้น นอกจากนี้ยังซึมซับความรุนแรงเข้าไว้ในใจ และนำไปใช้จัดการกับปัญหาต่อไปเมื่อเขาโตขึ้น

วิธีแก้ไขปัญหาเจ้าตัวน้อยแสนดื้อ

1.หาสาเหตุว่าทำไมลูกจึงดื้อ และมีปัจจัยอะไรที่กระตุ้นให้ลูกดื้อ เช่น เวลาที่พ่อแม่ดุลูกมีท่าทีที่ดุลูกไป ยิ้มไปด้วย ทำให้ลูกคิดว่าพ่อแม่ไม่เอาจริง ลูกกลับยิ่งดื้อต่อต้านมากขึ้นหากถูกดุด้วยท่าทีดังกล่าว เมื่อรู้สาเหตุให้แก้ไขตามสาเหตุนั้นๆ

2.ไม่ยั่วยุให้เด็กโกรธ เด็กวัย2-3ปี เป็นวัยสำรวจตรวจตราไม่ควรใช้คำว่าอย่าบ่อยๆ แต่ควรจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่จะเป็นอันตรายให้เรียบร้อย ให้โอกาสเด็กได้สำรวจตามวัยในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ถ้าเด็กอยากได้หรือสนใจของเล่นบางอย่างที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นอันตราย ให้ใช้วิธีเบี่ยงเบนไปสู่กิจกรรมอื่นที่น่าสนใจกว่า

3.ออกคำสั่งกับเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ คือ หนักแน่น กระชับ ชัดเจน ไม่ต่อล้อต่อเถียง และต้องติดตามว่าเด็กปฎิบัติตามคำสั่งที่ได้รับหรือไม่ ถ้าไม่ทำต้องกำกับให้เด็กทำจนเสร็จ โดยจับมือช่วยกันทำหรือภายใต้บรรยากาศของการช่วยเหลือและรอยยิ้ม

4.ให้รางวัลหรือคำชมเชยทันทีเมื่อเด็กทำตามคำสั่ง ไม่ควรมองข้ามสิ่งดีๆที่ลูกทำแม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อย เพราะเจ้าสิ่งเล็กน้อยนี่แหละจะงอกงามกลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ถ้าเด็กรับ รู้ว่าเขาทำดีทำถูกต้องผู้ใหญ่พึงพอใจเขาจะขยันทำสิ่งดีนั้นๆเพิ่มมากขึ้น รางวัลอาจมีได้หลายอย่างเช่น สิ่งของ คำชม การโอบกอด ขนม ฯลฯ ตามความเหมาะสมของครอบครัว รางวัลไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่เปี่ยมล้นด้วยคุณค่าจากจิตใจของผู้ใหญ่ที่ส่งให้เด็กๆเพียงเท่านี้ก็ สามารถสร้างรอยยิ้มบนแก้มของเจ้าตัวน้อยได้แล้ว

5.มีบทลงโทษเมื่อลูกทำผิด โดยร่วมกันกำหนดบทลงโทษไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เจ้าตัวน้อยรู้ว่าหากไม่เชื่อฟังคำสั่งจะเกิดอะไรตามมา การลงโทษควรเป็นการลงโทษอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งมีหลายวิธี เช่น งดสิทธิพิเศษ ตัดค่าขนม งดเล่นเกม งดดูรายการที่ชอบ อาจใช้วิธีตีด้วยเหตุผลเป็นวิธีสุดท้ายถ้าวิธีอื่นๆข้างต้นใช้ไม่ได้ผล

6.ให้ความสนใจเมื่อลูกทำตัวดี มีพฤติกรรมเหมาะสม ทำตามคำสั่งหรือเชื่อฟังพ่อแม่ ไม่ให้ความสนใจหรือเพิกเฉยเมื่อลูกทำพฤติกรรมที่ไม่ดี พฤติกรรมดังกล่าว ต้องไม่เกิดอันตรายต่อตัวเด็กเองไม่เกิดอันตรายต่อคนอื่น หรือไม่ทำลายสิ่งของ จึงจะเพิกเฉยได้ แต่ถ้าพฤติกรรมนั้นๆก่ออันตรายพ่อแม่ต้องหยุดพฤติกรรมนั้นทันทีด้วยความสงบ

7.พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูก ในการควบคุมอารมณ์โกรธ และทำตามกฎระเบียบของบ้านและสังคม

การอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายๆแต่มีเคล็ดลับที่สำคัญคือ การให้ความรัดความเข้าใจ ให้โอกาสแก่ลูก เด็กจะลอกเลียนแบบการกระทำจากพ่อแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัว การอบรมให้เจ้าตัวน้อยไม่ดื้อมิใช่จากการสั่งสอน อบรม โดยใช้คำพูดอย่างเดียวต้องผ่านการมีสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัว ได้ซึมซับแบบอย่างที่ดี ภายใต้บรรยากาศของความรัก ความเข้าใจและรอยยิ้มแห่งความสุข

โดย : กุสุมาวดี คำเกลี้ยง : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

 

ขอขอบคุณ : http://www.icamtalk.com