รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่


ฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่

เกมคิดราคาอาหารร้าน fast food


ป้ายโฆษณา

ป้ายโฆษณา

ก่อนซื้อโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์มือสอง ตรวจ S/N ที่แจ้งหาย/ถูกขโมยที่นี่!! BlockSerial.Com
คุณกำลังหาหรืออยากได้อะไรใน karn.tvclick ที่นี่!

 

Blog Me!

เปิดกว้างสำหรับเพื่อนสมาชิกที่ชอบการเขียน การจัดบันทึก การเขียน blog ก็คล้ายกับการที่เรามีสมุดกันคนละเล่มในนี้ อยากเขียนอะไรก็เขียน จะแบ่งให้ผู้สนใจและเพื่อน ๆ ได้อ่านแล้วมีส่วนร่วมผ่านทาง comment ก็ได้ หรือจะอยากเก็บไว้เป็นการส่วนตัวก็ได้ การเขียน blog จะช่วยทำให้เรารู้จักการเรียบเรียงเรื่องราวที่ต้องการจดบันทึก การนำเสนอ และได้แบ่งปันความรู้ นานาทัศนะต่อกัน ที่สำคัญ! ยังเป็นการบันทึกไว้ในโลกอินเตอร์เน็ตที่ใคร ๆ ก็มีโอกาสได้เห็น blog ของคุณ!

โพสต์โดย amijung
amijung
amijung ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
สมาชิกยังไม่ได้ออนไลน์
เมื่อ ศุกร์, 07 มิถุนายน 2013
ใน บันทึกลูกรัก

เรื่องคุยของลูกตอนที่34. ประสบการณ์ครั้งใหม่เมื่อ เอมิกับนัตซึไปงานจิตอาสา สร้างโป่งดินให้ช้างที่อ่างฤาไน

          คำว่า จิตอาสา เป็นคำที่ได้ยินบ่อยเหลือเกิน แต่จะมีสักกี่คนที่ได้ลงมือทำจริงๆ ด้วยใจที่อาสา.         ครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่คุณพ่อได้มีวันว่างพาลูกๆ สองสาวไปร่วมกิจกรรมงานจิตอาสาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน  2556. เป็นงานที่จัดขึ้นโดยชมรมในโตโยต้าที่ร่วมเหล่าจิตอาสา มาร่วมแรงช่วยกันสร้างโป่งดิน และสร้างแหล่งอาหารให้ช้าง. ที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอุทยานแห่งชาติอ่างฤาไนที่มีอาณาเขตติดต่อกันถึง 5 จังหวัด       โดยครอบครัวของเราเดินทางไปกับพนักงานคนอื่นๆด้วย โดยรถบัสที่บริษัทคุณพ่อโดยเดินทางต่อไปทางจังหวัดฉะเชิงเทรา.บรรยากาศในรถบัสนั้นสบายมาก.   อาหารเครื่องดื่ม ขนมนมเนยเพียบ ฟรีตลอด  เอมิกับนัตซึเคยไปร่วมงานจิตอาสามาบ้างแล้วอย่างปลูกป่าชายเลนและสร้างบ้านให้นกกับตกแต่งสวนที่ กองทัพบกบางปูเมื่อปีที่แล้ว.      ตอนนั้นสองสาวลุยโคลนลุยเลนลงไปปลูกต้นไม้กันสนุกสนาน ได้สัมผัสว่าดินชายทะเลมันเป็นอย่างไร ให้ความรู้สึกยังไง เวลาที่ได้ลงไปสัมผัสจริงๆ ได้เห็นปลาตีน เห็นนกชนิดต่างๆในระบบนิเวศน์.  และธรรมชาติรอบป่าชายเลนแบบจริงๆ.    เคยได้ไปช่วยเพาะกล้าไม้ต่างๆที่จะปลูกป่าเพิ่มในโรงงานที่คุณพ่อทำงานอยู่ให้ครบ 50 ล้านต้น ทำให้ได้รู้วิธีการปลูกการลงกล้าไม้ที่จะสร้างให้เป็นเป็นป่าที่สมบูรณ์ในอนาคต.      จำได้ว่าวันนั้น เป็นวันที่อากาศร้อนมากๆ แดดแรงสุดๆกว่าจะปลูกต้นไม้ตามวิธีที่เค้าสอนกันจนเสร็จ   ก็เหงื่อท่วมตัว    เสื้อผ้าเลอะดินไปหมดเลย สนุกสนาน วันนั้นฉันประทับใจในตัวเอมิมากที่ลูกอึดมากที่ช่วยกันปลูกต้นไม้บนเนินดินที่เราต้องรับผิดชอบให้หมดและเต็มพื้นที่ที่สุด.  ส่วนนัตซึนั้นทนร้อนไม่ไหวปลูกได้3-4 ต้นก็หนีหลบแดดไปเข้าเต้นท์ นั่งเป่าพัดลม แล้วก็ขอถ่ายรูปกับพี่พิธีกรที่มาจากช่อง 7 ซะงั้น.  แต่สำหรับเอมิช่วยคุณแม่จนงานเสร็จเก่งจริงๆ ไม่มีบ่นด้วย.   งานจิตอาสาแต่ละครั้งทำให้เอมิได้รับการปลูกฝังถึงความมีน้ำใจเสียสละ  อดทน รับผิดชอบ พร้อมลุยและเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ ในทุกๆสถานการณ์ ทำให้เอมิมองโลกในแง่ดี   หวงแหนธรรมชาติ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมได้.   เพราะการที่เราอาสาก็แสดงว่าเราเต็มใจที่จะช่วยเหลือ ลงมือลงแรง. อย่างในวันที่ครอบครัวเราไปช่วยกันทำโป่งดินให้ช้าง.   ต้องตื่นกันแต่เช้า. ไปขึ้นรถบัสที่บริษัทที่ทำงานของคุณพ่อ. อากาศช่วงเช้าไม่ค่อยดี ฟ้าครึ้มมีฝนตกปรอยๆ หวังไว้ในใจว่า อย่าตกหนักเลยเพราะไปที่อ่างฤาไนคงจะยิ่งลำบากมาก. 

ใช้เวลาเดินทางโดยรถบัสประมาณ 2ชั่วโมง. เมื่อไปถึงก็มีเหล่าจิตอาสาทยอยมาลงทะเบียนเตรียมแบ่งงานกันทำไว้ก่อนแล้ว บางคนขับรถยนต์ส่วนตัวมาเอง บางคนก็มากับบริษัท ที่ดูน่าตื่นตาตื่นใจคือรถประเภทบุกป่าฝ่าดงคันสูงๆใหญ่ๆ หลายคันมากๆที่จอดรอเตรียมพร้อมจะขนอุปกรณ์เข้าไปปลูกพืชเพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับช้าง ช้างจะได้หากินอาหารกันในป่าไม่ต้องออกมาบุกรุกหรือทำลายไร่สวนของชาวบ้าน ตามที่เป็นข่าวทางสื่อต่างๆ.  และอุปกรณ์ที่จะเอาไปทำโป่งดินให้ช้าง.    เอมิกับนัตซึไม่รู้จักว่าโป่งดินคืออะไรเพราะเคยได้ยินผ่านหูหรืออ่านเจอในหนังสือแต่ไม่เคยเห็นว่าสภาพจริงๆ มันเป็นยังไง.  คราวนี้แหละจะได้้เห็นกันล่ะว่า เราจะสร้างโป่งดินที่เป็นแหล่งธาตุอาหารเสริมให้กับช้างได้ยังไง

ก่อนที่จะเข้าป่าไปเพื่อลงมือทำงาน มีเจ้าหน้าที่ของอุทยานมาช่วยสรุปงานคร่าวๆ.เล่าถึงความจำเป็นของกิจกรรมในวันนี้. ว่าการสร้างโป่งดินให้ช้างนั้นก็เป็นเพราะว่า ช้างนั้นกินแต่พืช ไม่ใช่เป็นสัตว์กินเนื้อ จึงมีโอกาสขาดแร่ธาตุอาหารบางชนิดที่ช้างควรได้รับ.  และการที่เราต้องมาช่วยเพิ่มเนื้อที่แหล่งอาหารให้ช้างเพราะช้างจะได้หากินในป่าไม่ออกไปบุกรุกชาวบ้านให้เกิดความเสียหายนอกจากนี้ก็อธิบายวิธีการสร้างโป่งดินแบบให้เข้าใจง่ายๆ ว่าต้องทำอย่างไรกันบ้าง ดิฉันชวนเอมิมานั่งฟังด้วยกัน. เอมิตั้งใจฟังวิธีการสร้างโป่งดินทั้งการใช้อุปกรณ์และวิธีการทำ.   ตอนแรกดิฉันไม่แน่ใจว่าลุูกเข้าใจหรือเปล่า เลยถามสอบทวนกลับว่า ขั้นตอนการทำมีอะไรบ้าง. ปรากฎว่าเอมิตอบเรียงลำดับวิธีการได้หมดเลยว้าว ลูกอิฉันเองค่ะ เยี่ยมไปเลย เอมิสามารถฟังจับใจความสำคัญได้ดีทีเดียว. แต่ส่วนนัตซึนั้น ดิฉันยังไม่ค่อยหวังอะไรกับเธอมากนักเพราะ สิ่งเดียวที่นัตซึสนใจคือ แมลงต่างๆ.  ผีเสื้อหลากสีหลากหลายสายพันธุ์.  และใบไม้ใบหญ้าที่เป็นธรรมชาติ นัตซึคอยแต่จะมองดูลายผีเสื้อ. กับหาใบไม้ดอกไม้สวยๆ หยิบมานั่งดู ไม่ได้ฟังสักเท่าไหร่ว่าจะต้องทำอะไร.   พูดอย่างเดียวว่าเมื่อไหร่จะเดินเข้าป่าไปทำโป่งดินกันซะทีเนี่ย. (ทำไมผู้ใหญ่คุยอะไรกันนานหนักหนา. หนูอยากไปทำโป่งแล้วนะ).  เฮ้อ.  หารู้ไม่ว่า คำบรรยายสรุปต่างๆนั้นสำคัญมากเพราะจะทำให้เรารู้ขอบเขตหน้าที่ที่เราต้องรับผิดชอบ.    รู้สิ่งที่ต้องระมัดระวังในป่า. หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆแล้วจะต้องทำอย่างไร   รู้จักผู้ร่วมทีมและทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนจะปฎิบัติงานจริงๆ. เนื่องจากทุกคนต่างก็เพิ่งมาเจอกันจึงเสมือนกับเป็นการเรียนรู้จักกันใหม่ด้วย. นัตซึนั้นก็เพิ่งจะ หกขวบกว่าๆเอง. เป็นเด็กน้อยในทีม. เลยกลายเป็นคนช่วยดูมากกว่าช่วยทำ

หลังจากฟังบรรยายเสร็จ ก็แยกย้ายไปกินข้าวกลางวันเข้าห้องน้ำทำธุระเสร็จแล้วก็เริ่มเดินเข้าป่าไปทีละกลุ่ม.  กลุ่มถูกแบ่งเป็น

โซน A.  มี. ปลูกพืชเพื่อเป็นแหล่งอาหาร.  ทำโป่งดินที่1. ,2,3,4. ใช้การเดินเท้าเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร

โซน B. ทำโป่งดินที่5,6,7,8 ต้องขับรถแบบลุยป่าเข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าต่ออีก2-3 กิโลเมตร

ซึ่งครอบครัวเราเลือกทำโป่งดินที่4   งานนี้ขอเลือกทำโป่งดิน เพราะเราเคยปลูกต้นไม้มาหลายครั้งแล้ว และโป่งดินที่4 จะอยู่ลึกที่สุดของโซนA.   ในตอนแรกกะว่าจะหาประสบการณ์นั่งรถลุยป่าเข้าไป. แต่ลูกน้องของคุณพ่อบอกว่าอย่าดีกว่าเพราะด้านในจะมีช้างเยอะ (จริงอ่ะเปล่า) แล้วเราก็มีเด็กๆไปด้วยไม่สะดวก อันตราย และลำบากมาก.  ทั้งอุปกรณ์ต่างๆหากเดินเท้าไปด้วยจะหนักมาก. ทำให้ต้องเลือกอยู่โซนA.   ไว้รอเอมิกับนัตซึโต อายุเกิน 15 ปีเดี๋ยวพาไปลุยใหม่อีก.           ตอนแรกผู้ประสานงานบอกว่าฝนกำลังจะตกไม่ให้เอาเด็กเข้าป่าไปเดี๋ยวจะเป็นอันตราย เลยต้องบอกเอมิกับนัตซึว่า. พี่ๆเค้าไม่อนุญาตให้เด็กไป ให้อยู่ที่จุดอำนวยการจะดีกว่า. สองสาวโอดครวญว่า อยากไปมาก ถึงฝนจะตก ฟ้าจะร้องอย่างไรหนูก็จะไปด้วย ไม่ยอมอยู่รอเฉยๆหรอก.  หนูโตแล้วหนูดูแลตัวเองได้(. จริงหรือเปล่าลูกจ๋า.  ไหวแน่ๆนะจ๊ะ).   สองสาวทำตาอ้อนวอนแถมมีงอนถ้าไม่พาเข้าป่าไปด้วยกันอีก. เลยลองดูเพราะเห็นท่าทีมั่นใจมาก.  เลยขอแอบจูงมือลูกไปลุยด้วยกัน.  ดิฉันจับมือเอมิ. ส่วนคุณพ่อรับหน้าที่ดูนัตซึไป. ว่าแล้วก็ลุยกันเลย

พอเริ่มทยอยเดินเข้าป่า ฝนก็เริ่มตกเปาะแปะ. และตกหนักขึ้น. หนักขึ้นเรื่อยๆ. ทั้งตัวนั้นใส่เสื้อยืดแขนยาวที่ทางทีมงานแจก มีหมวกแคป ผ้าเช็ดหน้าผืนยาวๆคลุมหัว มีโทรศัพท์คลุมด้วยถุงพลาสติกพันๆใส่ไว้ในกางเกง.อุปกรณ์ต่างๆเก็บไว้ในรถทั้งหมด    เดินลุยน้ำลุยโคลนดินแดงแฉะๆ เดินๆตามกันไปแต่ละกลุ่ม.   ดิฉันชวนเอมิคุยเรื่อง. ดิน ลักษณะดิน เมื่อตอนที่มันยังแข็ง และตอนนี้มันโดนฝนชะ และสายน้ำที่ไหลเป็นทาง เริ่มแรงขึ้นบางช่วงที่เราเดินผ่าน. ยิ่งฝนตกหนักขึ้น ก็ทำให้เห็นสภาพว่า การเกิดน้ำป่ามันเป็นมาอย่างไร. จากเดิมที่แค่เป็นร่องน้ำเดินผ่านได้สบายๆแต่พอโดนปริมาณน้ำฝนสะสมและมีความแรงมากขึ้น. และมากเข้าก็กลายเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังความแรงของน้ำที่ไหลผ่านทางเดิน หากไม่ระวังก็คงลื่นไหลไปตามกระแสน้ำได้.  เอมิกับนัตซึเพิ่งมีโอกาสได้เห็นน้ำป่า. น้ำในป่าจริงๆที่ไหลบ่าลงมาจากภูเขาในช่วงที่ฝนตกหนักและนานเกือบ3 ชม.  สองสาวของดิฉันตอนนี้เละเทะไปด้วยน้ำฝนและรองเท้า. แขนขา. ก็มีเศษดินกระเด็นมาติดตลอดทาง. โชคดีที่เอมิใส่กางเกงยีนส์ขายาวมาเลยเดินแบบสบายใจไม่ต้องกลัวทากจะมาดูดเลือด. แต่ส่วนนัตซึนั้นเดินระแวงไปตลอดทางเพราะกลัวว่าตัวเองจะเจอกับทาก( ในหัวสมองของนัตซึตอนนี้กลัวทากมากที่สุดคล้ายกับว่ามันคงจะมาดูดเลือดเราจนหมดแน่ๆ. เพราะพี่ทีมงานที่เป็นคนคอยประสานงานนั้นย้ำตลอดเลยว่าเดินป่าแบบนี้ถ้าไม่ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดต้องเสร็จทากแน่ๆ. และ หากโดนกัดหรือถูกดูดเลือด ห้ามกระชากออกเพราะรอยฟันที่กัดจะทำให้บาดแผลกว้างขึ้นอีก ให้ใช้ไฟจากปลายธูปหรือบุหรี่มาจี้ที่ตัวทาก แล้วทากจะคลายฟันออกเอง). มาถึงตอนนี้สิ่งที่นัตซึกลัวนั้นไม่ใช่น้ำป่า. ไม่ใช่ฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ. ฟ้าร้อง อย่างที่ดิฉันนึกหวั่นใจ.   แต่กลับกลายเป็นว่านัตซึกลัวทากมากๆทั้งๆที่ในทีมที่เราไปยังไม่เจอทากกันเลยสักตัว.  เพราะงั้นนัตซึจึงเฝ้าดูขาของตัวเองตลอดว่าจะมีอะไรมากัดหรือเปล่าน้อเนื่องจากใส่กางเกงยีนส์สามส่วนไปนั่นเอง

เมื่ิอเดินเท้าเข้าไปสักพัก ก็พบว่ามีต้นไม้ใหญ่หักล้มขวางทางรถขนอุปกรณ์จึงต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อุทยานขับรถโฟร์วิลขนาดใหญ่เข้ามาทำการเคลียร์พื้นที่ซึ่งเจ้าหน้าที่ขับรถได้คล่องแคล่วมากเพียงไม่นานก็เอาต้นไม้ใหญ่ผูกเชือกลากออกไปจากทางที่ล้มขวางไว้ได้อย่างชำนาญมากๆ.   ตอนแรกนัตซึกับคุณพ่อก็ขออาศัยรถคันนี้นั่งเข้ามาในป่าตอนช่วงที่ฝนตกแรกๆเหมือนกัน.   พอเจ้าหน้าที่บอกว่าต้องขับทับต้นไม้เพื่อเคลียร์พื้นที่ นัตซึเคยนั่งรถที่ผาดโผนไหม.  พอนัตซึได้ยินดังนั้นเลยขอลงจากรถกับคุณพ่อก่อนเลย. รีบบอกว่าหนูไม่อยากผาดโผนตอนนี้ค่ะ.  แล้วคุณพ่อก็อุ้มนัตซึลงมาจากรถเพื่อมาลุยน้ำฝนด้วยกันจะๆๆอีกรอบ.  

ฝนตกหนักขึ้นเรื่อยๆไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก. เราเดินไปจนถึงบริเวณหอที่สร้างไว้สำหรับซุ่มดูสัตว์. พอจะยืนหลบฝนได้บ้าง. หัวหน้าทีมตัดสินใจว่ายืนรอดูท่าทีทางเจ้าหน้าที่ก่อนว่าจะเอายังไง. สามารถขุดดินเพื่อทำโป่งได้หรือเปล่า. และตอนนนี้ปลอดภัยที่จะออกไปทำงานในป่า ที่มีทั้งที่โล่งและใต้ต้นไม้ใหญ่.  กลัวว่าจะมีเรื่องฟ้าผ่ามาแถมอีกด้วย.  พวกเราต่าง้ก็บรวบรวมของที่เป็นโลหะ ปิดอุปกรณ์มือถือ. ถอดสร้อยคอเข็มขัดที่มีชิ้นส่วนที่จะเป็นสื่อไฟฟ้าออก. เลยกลายเป็นว่าในกลุ่มของดิฉันมีดิฉันกับเอมิและนัตซึนั่งเฝ้าของอยู่ตรงที่หลบฝนชั่วคราว.  ส่วนผู้ใหญ่คนอื่นๆตัดสินใจไปขุดหลุมดินและเริ่มสร้างโป่งกันเลยเพราะรอมานานเกือบครึ่งชั่วโมงแล้วดูท่าว่าฝนจะไม่หยุดตกง่ายๆ พอฝนเริ่มเบาลงจึงรีบแยกย้ายกลุ่มกันไปตามจุดต่างๆ.   ครอบครัวเราจึงส่งคุณพ่อเป็นตัวแทนไปช่วยทำ

การทำโป่งคือขุดดินเป็นหลุมบริเวณกว้างและลึกประมาณ. 50 ซม.   จากนั้นผสมก้อนแร่ธาตุหนัก.  50. กิโลกรัม ลงไปคลุกเคล้า.   ก้อนแร่ธาตุแข็งมากต้องทุบให้ละเอียดก่อน จากนั้นกลบดินไปหนึ่งชั้น และทำอย่างเดิมอีกครั้ง ปิดหน้าดิน. ถ้าให้ดีก็ควรเดินย่ำๆบริเวณหน้าดินให้แน่นๆ.  ขั้นตอนการทำก็จะออกแรงตอนขุดดินขึ้นมากับคลุกแร่ธาตุที่ต้องช่วยกันเยอะหน่อย ทำงานแข่งกับฝนด้วย.  กลัวว่าฝนจะชะธาตุอาหารไปหมดซะก่อน.  ดิฉันกับลูกมาเห็นก็ตอนที่ฝนเริ่มตกเบาลงและคลุกดินกับแร่ธาตุในชั้นที่ 2 ใกล้เสร็จแล้ว (ก้อนแร่ธาตุจะสีแดงๆส้มๆ).  ที่ไปดูช้าเพราะกว่าจะข้ามทางน้ำที่ไหลเชี่ยว2-3 จุดไปพร้อมกับเอมิและนัตซึด้วยค่อนข้างจะลำบากนิดหน่อย ต้องช้าๆจริงๆกลัวไหลไปกับน้ำ

หลังจากทุกจุดทำงานเสร็จก็ถึงเวลาเดินทางออกจากป่า คราวนี้เดินเท้าออกไปไม่ไหวแล้วเพราะน้ำเริ่มเจิ่งนองไปทั่ว. เลยต้องอาศัยรถสูงๆของคนในชมรมโตโยต้าพานั่งรถกันออกมา.  ขากลับเอมิกับนัตซึตื่นเต้นที่เห็นบริเวณบางแห่งกลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ ทั้งๆที่ตอนเดินเท้าเข้ามามันยังไม่มีเลย. ว้าว นี่แหละ ธรรมชาติ.ฝนเริ่มหยุดตกแล้วพวกเรา ออกมาจากป่าเสร็จก็เปลี่ยนเสื้อผ้า.   สองสาวยังลั้นล้าสนุกสนานอยู่. แต่ดิฉันเหมือนจะเป็นไข้เลยหนาวมาก.  ต้องหายากิน แก่แล้วมันก็เป็นยังงี้นี่เอง.  มาทริปนี้ไม่ได้มีโอกาสถ่ายรูปเล้ยเพราะเจ้าฝนแท้ๆทีเดียว.  แถมยังไม่กล้าเปิดโทรศัพท์เพราะว่ากลัวเรื่องฟ้าผ่า.  ยิ่งตอนนี้อะไร ๆก็เตือนเรื่องฟ้าผ่ากันบ้อย..บ่อย จริงๆ.  เลยไม่มีภาพเละๆของสองสาวและดิฉันมาให้ดู

เดินทางกลับมาถึงบ้าน รีบอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า.   หมดแรงสุดๆ. หันกลับไปดูสองสาวหลังอาบน้ำเสร็จ ต่างก็หยิบการ์ตูนมานอนอ่านกันคนละเล่ม ไม่มีทีท่าว่าเหนื่อยหรือง่วงนอนใดๆ. แต่ดิฉันเพลียหลับเป็นตายเลย.   วันจันทร์รุ่งขึ้นสองสาวตื่นไปโรงเรียนสบ้าย. ..สบาย. แต่ดิฉันอยากไปหาที่นอนให้เค้านวดตัวหรือช่วยเหยียบดิฉันให้หายเมื่อยจริงๆเลย.    ถามเอมิกับนัตซึว่าไปอีกไหม.  คุณคิดว่ายังไงค่ะ เดี๋ยวมาบอกรอบหน้่าว่าคำตอบคืออะไร...

โหวตให้คะแนนบทความนี้
คำค้นหา: ไม่ระบุคำค้นหา
amijung (657 คะแนนที่ได้รับ)
amijung ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
เหรียญรางวัล:

ความคิดเห็น

กรุณา เข้าระบบ หากต้องการแสดงความคิดเห็นของคุณ