รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่


ฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่

เกมคิดราคาอาหารร้าน fast food


ป้ายโฆษณา

ป้ายโฆษณา

ก่อนซื้อโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์มือสอง ตรวจ S/N ที่แจ้งหาย/ถูกขโมยที่นี่!! BlockSerial.Com
คุณกำลังหาหรืออยากได้อะไรใน karn.tvclick ที่นี่!

 

Blog Me!

เปิดกว้างสำหรับเพื่อนสมาชิกที่ชอบการเขียน การจัดบันทึก การเขียน blog ก็คล้ายกับการที่เรามีสมุดกันคนละเล่มในนี้ อยากเขียนอะไรก็เขียน จะแบ่งให้ผู้สนใจและเพื่อน ๆ ได้อ่านแล้วมีส่วนร่วมผ่านทาง comment ก็ได้ หรือจะอยากเก็บไว้เป็นการส่วนตัวก็ได้ การเขียน blog จะช่วยทำให้เรารู้จักการเรียบเรียงเรื่องราวที่ต้องการจดบันทึก การนำเสนอ และได้แบ่งปันความรู้ นานาทัศนะต่อกัน ที่สำคัญ! ยังเป็นการบันทึกไว้ในโลกอินเตอร์เน็ตที่ใคร ๆ ก็มีโอกาสได้เห็น blog ของคุณ!

โพสต์โดย amijung
amijung
amijung ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
สมาชิกยังไม่ได้ออนไลน์
เมื่อ เสาร์, 30 มิถุนายน 2012
ใน นานาทรรศนะ

เรียนที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องแคร์แค่ชื่อโรงเรียน

เมื่อวานวันศุกร์ไปรับยูริที่โรงเรียนหลังจากเรียนรำไทยเสร็จแล้ว ก็เลยได้มีโอกาสนั่งคุยกับผู้ปกครองที่ยังเรียนต่ออนุบาล 3 กันที่เจริญพงศ์ เลยได้รู้ว่าปีนี้มีสอบติดสาธิตม.ศ.ว. เท่าที่ทราบมีแน่นอน3 คน  ได้ทราบต่อมาอีกทีว่า คุณพ่อของน้องคนหนึ่งที่ลูกเริ่มไปเรียนบอกว่าไม่ค่อยตรงใจเพราะว่าไม่เน้นวิชาการเลยกลัวลูกจะช้าไม่ได้อะไร  ขอรอดูอีกสักปีแล้วก็อาจจะเปลี่ยนที่เรียน. (นึกในใจว่าพุธโธ่เอ๋ย. สอบแข่งขันกันจะเป็นจะตายทั้งเอาชีวิตจิตใจทุ่มเทกันซะขนาดนั้น ส่งเรียนกันอุตลุด สุดท้ายบอกว่าไม่โดนใจอยากได้แบบวิชาการแน่น ๆ). เราเองก็ไม่อยากจะออกความคิดเห็นซ้ำอีกว่า ไหงคุณพ่อไม่ต้องไปยุ่งซะตั้งแต่แรก. ถ้าอยากได้แนววิชาการมันก็ไม่ใช่แนวสาธิต ยังงงสับสนอยู่อีกหรือ ทุกครั้งที่ใครๆถามว่า จะเลือกโรงเรียนอย่างไรดี ขอย้ำเลยว่ามันมีอยู่2 แบบ ว่า. ถ้าแนววิชาการเน้นภาษาอังกฤษจีนก็ให้ไปทางคาทอลิก ถ้าวิชาการแบบไทย ก็โรงเรียนรัฐบาลแล้วแต่ว่าจะนิยมชมชอบตราหรือสัญญลักษณ์โรงเรียนแบบใด. กับอีกอย่างคือ แนวสาธิต เพราะชื่อว่าสาธิต ก็คือทดลองทำ. เพราะฉะนั้นอย่าหมายมั่นว่าจะต้องเก่งวิชาการอย่างหนักหรือมากมาย เราเน้นเก่งได้อย่างสบาย ๆแบบผ่านกิจกรรม อย่าคาดหวังว่าสาธิตแต่ละที่จะมีดีเหมือนกันหมด มันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสาธิตแต่ละแห่งหรือสถาบันนั้น. ถ้าตามความคิดเห็นส่วนตัวเท่าที่จะคิดได้ตอนนี้คือ. ถ้าแนวเก่งแบบคุณหมอก็น่าจะสาธิตจุฬา ถ้าเก่งแบบแนวคณิต วิทย์แบบครูต้องก็ต้องสาธิตมศว.  ถ้าอยากให้เก่งด้านสังคมการมีอาชีพที่หลากหลายเข้าถึงได้ในทุกคณะที่กระจายแนวกันออกไปก็ต้องสาธิตเกษตร แต่พวกที่จะเลือกหมอจริงๆอาจจะน้อยส่วนใหญ่ก็เป็นวิศวะ หรือแนวที่เรียนต่อเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งดูจากสถิติการสอบเข้าเรียนต่อของที่พหุภาษามันช่างหลากหลายคณะเกินกว่าจะพิมพ์มาให้ดูได้โดยส่วนใหญ่กระจายไปตามมหาวิทยาลัยในแต่ละที่ของภาครัฐประมาณ96%. มีศึกษาต่อต่างประเทศด้วย เรียกได้ว่ามีที่ไปที่ดีตามแต่ใจเด็กๆจะปรารถนากันได้หมด(. เพราะว่าไม่ได้หวังต่อแพทย์กันยกชั้น เลยกระจายกันไปตามความชอบที่หลากหลาย). เพราะงั้นเลยคิดว่าอยู่ที่เป้าหมายว่าเราอยากให้ลูกไปแนวไหนก็เสริมผลักดันให้ไปแนวนั้น อย่าตามกระแสสังคมมากนัก.  
  ได้คุยกับผู้ปกครองที่ลูกเรียนคาทอลิกที่ชอบแนวคาทอลิกจริงๆมีอยู่เป็นจำนวนมาก เค้าก็มีศักดิ์ศรีและภาคภูมิใจในแบบของเค้าว่า เค้าก็เจ๋งแน่เหมือนกัน มิใช่ว่าจะไปต่อแค่แนวภาษาได้อย่างเดียว เดี๋ยวนี้เค้าก็พัฒนาแล้วเหมือนกัน มีสอบเข้าแพทย์.  เภสัชได้ อะไรประมาณนั้น   เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเรียนมาแนวไหน แค่ลูก ของเราทำได้ ดีเรียนมีความสุขแล้วผู้ปกครองก็ไม่ลำบากด้วยถือว่าเหมาะสมที่สุดแล้ว เพราะโรงเรียนแต่ละที่่ก็พยายามจะแข่งขันสร้างผลงานกันให้ดีที่สุดอยู่แล้ว. และดิฉันเชื่อว่าเด็กทุกคนไม่มีใครเก่งหรือฉลาดกว่ากันเพราะเราเอามาตราฐานอะไรมาเปรียบเทียบได้ไม่หมด นอกจากข้อสอบของความรู้ แต่ในชีวิตจริงสิ่งที่เด็กๆต้องเติบโตและรู้จักเผชิญกับปัญหาต่างหากล่ะว่าเป็นที่ยอมรับในสังคมและผู้คนรอบข้างมากน้อยแค่ไหนว่าเค้าเป็นคนเก่งจริง.   เลยอยากบอกว่า. แนวสาธิตไม่ใช่แนววิชาการ ถ้าจะสอบเพื่อเล่นๆเอาขำๆ ก็ขออย่าได้ตกลงใจมาเรียนเพราะว่ามันไม่เน้นวิชการหนักๆหรือเข้มข้นจริงๆ เชื่อเถอะค่ะ. ถ้าเข้ามาเรียนแล้วลาออก เสียดายสิทธิ์แทนคนที่ติดสำรองที่เค้าตั้งหน้าตั้งตาอยากเข้าจริงๆค่ะ(. อันนี้ขอเป็นตัวแทนคนที่ติดสำรองอันดับหนึ่งจริงๆ เห็นใจค่ะ)
        ไม่ว่าเรียนที่ไหนเรามีศักดิ์ศรีได้เท่ากันค่ะถ้าหากเด็กๆตั้งใจเรียนเป็นเด็กดีของคุณพ่อคุณแม่และอาจารย์นะค่ะ

โหวตให้คะแนนบทความนี้
คำค้นหา: ไม่ระบุคำค้นหา
amijung (657 คะแนนที่ได้รับ)
amijung ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
เหรียญรางวัล:

ความคิดเห็น

แม่น้องกานต์
แม่น้องกานต์
แม่น้องกานต์ ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
สมาชิกยังไม่ได้ออนไลน์
แม่น้องกานต์ อาทิตย์, 15 กรกฏาคม 2012

เห็นด้วยกับแม่เฮี้ยงนะคะ ก่อนคุณพ่อคุณแม่จะเลือกโรงเรียนให้ลูกอยากให้ใช้เวลาศึกษาข้อมูลของโรงเรียนนั้นๆ
ว่าเป็นอย่างที่ครอบครัวคุณต้องการจริงหรือไม่ ตรงกับอนาคตที่คิดจะวางแนวทางให้ลูกหรือไม่ เพราะได้อย่างมัน
ก็ต้องมีเสียอย่างนะคะอย่าง ดังนั้นเมื่อเรารู้จุดแข็งของโรงเรียนแล้ว ในส่วนของครอบครัวก็มาเสริมจุดอ่อนนั้นๆ
ให้ลูกเองที่บ้านเพื่อเติมเต็มให้สมบูรณ์แบบนี้ดีกว่าไหมคะ

เด็กๆมีเวลาที่โรงเรียนวันละ 8 ชั่วโมงเท่ากันดังนั้น

ในรร.แนววิชาการ ก็ต้องอ่านเขียนเรียนท่องกันไปเพราะเนื้อหาวิชาการมันก็เยอะ ขืนชักช้าให้เด็กมีกิจกรรมเยอะไป
คุณครูสอนไม่ทัน เมื่อถึงตอนสอบเด็กเจอกับข้อสอบกลางของสังฆมณฆลก็อาจจะตกได้ จะให้มีเวลาไปหาประสบการณ์
ชีวิตปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงหนอนไหม ย้อมผ้า ก็คงไม่ได้
ดังนั้นการผ่อนคลายหาประสบการณ์ในโลกกว้างที่หลากหลายจึงเป็นเรื่องที่ครอบครัวต้องเสริมทักษะชีวิตให้แก่ลูก
ในส่วนตัวขออนุญาตออกความเห็นว่า ถ้าลูกเรียนแนววิชาการเข้มข้นแล้วทางบ้านเสริมเรียนพิเศษเข้มข้นอีกดูจะเป็น
แนวทางที่ตึงเกินไป ..ตัวเองจัดว่าเป็นคนวงนอกที่ไม่ได้อยู่ในกระแสการแข่งขันแบบรร.แนววิชาการ ก็เลยไม่ทราบว่า
จริงๆแล้วการเรียนพิเศษมันจำเป็นสำหรับเด็กในกระแสเขาหรือเปล่า..

ในรร.แนวสาธิต หรือรร.แนวทางเลือกอื่นๆ จะเน้นทักษะชีวิตและฝึกคิดแก้ปัญหาผ่านกิจกรรมเยอะมาก แน่นอนว่า
เวลาถูกแบ่งออกไปจากการเรียนเนื้อหาวิชาการ การบ้านไม่มาเป็นปึกๆเด็กมีเวลาเล่น รู้ ค้นคว้าส่วนตัวมากกว่า
ทางบ้านก็ต้องเสริมสอนเนื้อหาให้ หรือสอนให้ลูกรู้จักการวิธีค้นคว้าด้วยตัวเอง มิเช่นนั้นก็อาจจะรู้สึกว่าเหมือนไม่ได้
เรียนอะไร (โดยเฉพาะ ป.1-2 อยู่ในช่วงที่ต้องปรับฐานความรู้ เพราะรับเด็กเข้าเรียนตามเกณฑ์อายุ เด็กที่เรียนมาในรร.อนุบาลที่เน้นวิชาการจะรู้สึกว่าเรียนง่ายเหมือนตอน อ.3 เลย คุณรับได้ไหมที่เหมือนลูกเรียนซ้ำอีกปีหรือ2ปี)

การเรียนที่ประสบความสำเร็จ คือสอนให้เด็กรู้วิธีการหาความรู้และสังเคราะห์เอามาใช้ประโยชน์อย่างที่เขาต้องการได้
หรือดีกว่านั้นอีกคือสามารถสร้างองค์ความรู้เองได้ สมัยนี้ความรู้มีอยู่รอบตัวหาได้ง่ายเพียงกดแป้นสิ่งที่ยากคือการกรอง
เอามาใช้

กรุณา เข้าระบบ หากต้องการแสดงความคิดเห็นของคุณ