รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่
ฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่
เปิดกว้างสำหรับเพื่อนสมาชิกที่ชอบการเขียน การจัดบันทึก การเขียน blog ก็คล้ายกับการที่เรามีสมุดกันคนละเล่มในนี้ อยากเขียนอะไรก็เขียน จะแบ่งให้ผู้สนใจและเพื่อน ๆ ได้อ่านแล้วมีส่วนร่วมผ่านทาง comment ก็ได้ หรือจะอยากเก็บไว้เป็นการส่วนตัวก็ได้ การเขียน blog จะช่วยทำให้เรารู้จักการเรียบเรียงเรื่องราวที่ต้องการจดบันทึก การนำเสนอ และได้แบ่งปันความรู้ นานาทัศนะต่อกัน ที่สำคัญ! ยังเป็นการบันทึกไว้ในโลกอินเตอร์เน็ตที่ใคร ๆ ก็มีโอกาสได้เห็น blog ของคุณ!
ใครยังร้องเพลงกล่อมลูกเวลานอนยกมือขึ้น ไปเจอบทความของ นพ.อุดม เพชรสังหาร อธิบายถึงประโยชน์ที่เด็กได้รับจากการฟังเสียง
แม่ร้องเพลงกล่อมนอนแล้ว ก็รู้ว่าเรามาถูกทางเลยต้องรีบมาบอกต่อค่ะ
อ้อยร้องเพลงกล่อมเด็กกล่อมให้ลูกนอนมาตั้งแต่เล็ก จนตอนนี้ 9 ขวบแล้วยังขอให้แม่กล่อมอยู่เลย ไม่ได้กล่อมกันทุกคืนเหมือนสมัย
เบบี๋หรอกนะคะ บางคืนก็เล่านิทาน บางคืนแม่เหนื่อยคิดนิทานไม่ออก ลูกก็จะขอให้ร้องกล่อมแทนเพราะมันง่ายกว่ามาก ก็ร้องมาหลายปี
จนรู้สึกเหมือนกับว่าพอเราอ้าปากมันก็ออกมาเองไม่ต้องใช้สมองคิดเลย บางทีเคลิ้มหลับไปด้วยร้องไปด้วย..ขั้นเทพไหมล่ะคะ.. อิอิ
เพลงกล่อมที่ร้องส่วนใหญ่ก็เป็นเพลงที่เคยฟังแม่กล่อมเราตอนเป็นเด็กทั้งนั้น น่าแปลกไหมคะมันบันทึกอยู่ในส่วนลึกของความทรงจำ
ในขณะที่อ้อยร้องกล่อมลูกในใจจะต้องนึกย้อนกลับไปถึงตอนที่แม่กล่อมเราสองพี่น้องนอนทุกครั้ง แถมมีตบก้นด้วยนะ (ตอนนี้รู้แล้ว
ว่ามันเมื่อยมือแค่ไหนกว่าลูกจะหลับ) นี่คงเป็นข้อพิสูจน์เล็กๆส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าความอบอุ่นความสุขใจในขณะที่นอนฟังแม่
กล่อมนั้นฝังลึกยาวนานในใจลูกตลอดไป
สำหรับประโยชน์ของบทเพลงกล่อมลูกนั้นในด้านที่ว่าช่วยสืบสานภูมิปัญญา บรรยายวิถีชีวิตอะไรทำนองนั้น เราพ่อแม่รุ่นใหม่คงไม่ใคร่
จะสนใจเท่าไร แต่ถ้าบอกว่ามีผลวิจัยอะไรที่ช่วยพัฒนาลูกได้ละก็ตาโตเลย..จริงมั้ยคะ
ถ้างั้นอย่ารอช้าเรามาอ่านบทสัมภาษณ์คุณหมอกันดีกว่าค่ะ
โดย: นพ.อุดม เพชรสังหาร
ไก่เอ๋ยไก่เถื่อน ขันเทือนทั้งบ้าน
ลูกสาวขี้คร้าน นอนให้แม่ปลุก
ฉวยไม้ด้ามขวาน แยงวานดังปลุ๊ก
นอนให้แม่ปลุก ลูกสาวขี้คร้านเอย
ใครที่เป็นคนใต้ น่าจะรู้จักเพลงกล่อมลูกบทนี้ดี บางคนพอได้ยินเพลงนี้ ภาพความทรงจำในวัยเด็ก ตอนที่แม่ร้องเพลงนี้กล่อมนอน
อาจผุดขึ้นมาในห้วงความคิดคำนึงด้วยความรู้สึกที่เป็นสุขแต่บางคน ก็อาจรู้สึกเฉยๆ อะไรคือเหตุของความแตกต่าง
ผมไปทำงานที่นครศรีธรรมราช ได้พบปะกับผู้เฒ่าผู้แก่หลายคน ได้พูดคุยกันถึงเรื่องเพลงกล่อมลูกและประโยชน์ของมัน คนเฒ่าคนแก่
ที่ได้พูดคุยด้วย ต่างก็ยืนยันว่าเพลงกล่อมลูกมีประโยชน์ มันช่วยทำให้ลูกหลับได้เร็ว พ่อแม่จะได้มีเวลาไปทำงานอย่างอื่น มันช่วยสอน
ลูกหลานให้เป็นคนดี มันคือการรักษาประเพณีที่มีมาแต่โบราณ นี่คือคำอธิบายที่กลั่นมาจากประสบการณ์ของพวกเขา
ถ้าเทียบกับคนรุ่นปู่ย่าแล้วพ่อแม่หนุ่มสาวหลายคนกลับพบว่าพวกเขาเฉยๆ กับเรื่องนี้สำหรับพวกเขาจะมีเพลงกล่อมลูกหรือไม่ ไม่สำคัญ
จะไปตำหนิพ่อแม่รุ่นใหม่ว่าไม่รู้จักของดีก็คงไม่ถูก เพราะคนรุ่นนี้ต้องการคำอธิบายที่มากกว่าคำว่ามัน มันเป็นเรื่องที่ทำกันมาตั้งแต่ปู่ย่า
ตายาย พวกเขาต้องการคำอธิบายที่มีหลักฐานยืนยัน ไม่ใช่แค่เพียงคำเล่าขาน
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดประกวดเพลงกล่อมลูกเป็นประจำทุกปีมากว่าสองทศวรรษแล้ว
ปีนี้ก็เพิ่งประกาศผลการประกวดไป แต่พ่อแม่รุ่นใหม่ส่วนใหญ่ก็ยังมองไม่เห็นคุณค่า ของเพลงกล่อมลูก เหมือนกับที่คนรุ่นเก่ามอง
ในต่างประเทศก็ได้มีการค้นคว้าวิจัยกันค่อนข้างเยอะ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยแม็คกิล ในแคนาดา
มหาวิทยาลัยออฮุส ในเดนมาร์ค ถึงกับมีการตั้งศูนย์วิจัยเพื่อทำการศึกษาว่าดนตรี สมอง และความสามารถในด้านต่างๆ ของมนุษย์ว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร และจะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนามนุษย์ได้อย่างไร ทีมนักวิจัยของเขาก็มีทั้งหมอ นักดนตรี นักจิตวิทยา และอีก
หลายๆ สาขาอาชีพมาร่วมกันทำงาน เพราะการศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบใหม่ๆ นั้น จำเป็นต้องอาศัยความรู้หลายๆ แขนงประกอบกัน
ความรู้เท่าที่ได้มีการค้นพบแล้วนั้นเขาพบว่าเพลงกล่อมลูกนั้นสร้างคุณประโยชน์ให้กับเด็กได้มากมายเลยทีเดียว
เพลงกล่อมลูก ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของการได้ยินให้กับทารกในครรภ์ เพราะเสียงเพลงจากแม่สามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้
โดยตรงตั้งแต่เด็กยังอยู่ในท้องแม่ ความสูงต่ำของทำนองเพลงจะกระตุ้นให้เซลล์สมองที่ทำหน้าที่รับเสียงในแต่ละย่านความถี่มีพัฒนา
การที่ดีขึ้น ทำให้เด็กมีความสามารถในการแยกแยะความสูงต่ำของเสียงได้ นี่คือรากฐานของพัฒนาการด้านภาษา
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงสูงต่ำ จำเป็นต้องใช้ความสามารถแบบนี้มาก ไม่งั้นเราจะแยก “พี่” ออกจาก “ผี” ไม่ได้
เพลงกล่อมลูก ช่วย “สื่อความรัก” จากแม่ไปสู่ลูก ท่วงทำนอง และน้ำเสียงที่อ่อนโยนของเพลงกล่อมลูกคือ “สาร” ที่จะ “สื่อ” ไป
ยังลูกว่า พ่อแม่รักลูกแค่ไหน ความรู้สึกว่าตนเองเป็นที่รักของพ่อแม่คือพลังที่จะทำให้เด็กเติบโตทั้งร่างกายและจิตใจ การค้นพบเซลล์กระจกเงา การค้นพบความเปลี่ยนแปลงของสารเคมีหลายอย่างในสมองของเด็ก คือหลักฐานที่ยืนยันว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริง
เพลงกล่อมลูก ช่วยถ่ายทอดคุณค่าที่ดีงามจากพ่อแม่ไปสู่ลูก เนื้อหาที่เป็นคำสอน ที่แสดงถึงคุณค่าของชีวิตที่ดี หากถูกเรียบเรียง
ด้วยถ้อยคำที่แสดงออกถึงการกระทำ จะกระตุ้นให้เซลล์กระจกเงาในสมองของเด็กทำงาน และนั่นหมายความว่าเด็กจะซึมซับและนำเอา
บทเรียนนี้ไปปฏิบัติเมื่อถึงเวลา
ความรู้ที่มีการค้นพบใหม่เหล่านี้ล้วนยืนยันความสำคัญและคุณค่าของเพลงกล่อมลูก แต่เราก็ยังไม่ได้นำความรู้เหล่านี้มาใช้ประโยชน์
เท่าที่ควร จึงไม่แปลกที่คนรุ่นใหม่ซึ่งต้องการคำอธิบายที่มากกว่าจะมองข้ามความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ไป
ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าใครควรจะทำหน้าที่นี้ แต่สำหรับตัวเองก็ขอทำเท่าที่ตนเองจะสามารถทำได้ คือการเล่าให้ฟัง เผื่อว่าจะมีใครที่
เกี่ยวข้องเกิดความกระจ่างขึ้นแล้วนำไปขยายผลต่อ สังคมของเราจะได้รู้จักใช้เครื่องมือดีๆ ที่มีอยู่แล้ว พัฒนาลูกหลานของเรา
แถมยังได้รักษาสิ่งที่เรียกว่าภูมิปัญญาของเราเอาไว้อีกด้วย
โดย MomyPEDIA
www.karn.tv สื่อการสอนระดับ อนุบาล - ประถมต้น (ช่วงชั้นที่ 1) รวมแบบฝึกหัด ตัวอย่างข้อสอบ กิจกรรมเพิ่มทักษะ ข้อมูลการศึกษา โรงเรียน |
สงสัยต้องกลับมาร้องเพลงกล่อมลูกก่อนนอนเหมือนเดิมแล้วละคะ เดี๋ยวนี้ลูกไม่ค่อยได้ฟังแม่ร้องเพลงกล่อม มักได้ยินเสียงแม่บ่นกล่อมจนลูกต้องรีบหลับ เพราะรำคาญ55