รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่


ฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่

เกมคิดราคาอาหารร้าน fast food


ป้ายโฆษณา

ป้ายโฆษณา

ก่อนซื้อโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์มือสอง ตรวจ S/N ที่แจ้งหาย/ถูกขโมยที่นี่!! BlockSerial.Com
คุณกำลังหาหรืออยากได้อะไรใน karn.tvclick ที่นี่!

 

Blog Me!

เปิดกว้างสำหรับเพื่อนสมาชิกที่ชอบการเขียน การจัดบันทึก การเขียน blog ก็คล้ายกับการที่เรามีสมุดกันคนละเล่มในนี้ อยากเขียนอะไรก็เขียน จะแบ่งให้ผู้สนใจและเพื่อน ๆ ได้อ่านแล้วมีส่วนร่วมผ่านทาง comment ก็ได้ หรือจะอยากเก็บไว้เป็นการส่วนตัวก็ได้ การเขียน blog จะช่วยทำให้เรารู้จักการเรียบเรียงเรื่องราวที่ต้องการจดบันทึก การนำเสนอ และได้แบ่งปันความรู้ นานาทัศนะต่อกัน ที่สำคัญ! ยังเป็นการบันทึกไว้ในโลกอินเตอร์เน็ตที่ใคร ๆ ก็มีโอกาสได้เห็น blog ของคุณ!

โพสต์โดย แม่น้องกานต์
แม่น้องกานต์
แม่น้องกานต์ ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
สมาชิกยังไม่ได้ออนไลน์
เมื่อ เสาร์, 25 กุมภาพันธ์ 2012
ใน นานาทรรศนะ

เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์,วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน

..นี่เป็นการเล่านิทานในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกระตุ้นการเรียนคณิตศาสตร์ จุดเน้นและวิธีการเล่าจะไม่เหมือนปกตินะคะ
คนที่จะเก่งคณิตศาสตร์ต้องมีการคิดที่เป็นระบบ มีตรรกะที่ดี เด็กที่บวก ลบ คูณ หาร ถูกต้องก็ไม่แน่ว่าจะเก่งคณิศาสตร์
ในระดังสูงๆต่อไป  ส่วนด้านวิทยาศาสตร์เด็กจะได้ฝึกการฝึกสังเกตุ หาเหตุผลและอภิปรายความคิด ในขณะฟังนิทาน..

14มี.ค.54 อ้อยได้มีโอกาสไปสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ที่จัดโดย สสวท. เรื่อง วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
สำคัญอย่างไรต่ออนาคตของชาติ
โดยมี Work shop ย่อย 2 กลุ่มคือห้องดนตรี , ห้องนิทาน เพื่ออบรมเทคนิคการสอน
ว่าเด็กปฐมวัยจะสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ผ่านดนตรีและนิทานได้อย่างไร การจัดงานครั้งนี้ของสสวท.
ได้รับความสนใจมากมีคุณครูและผู้สนใจเข้าสัมมนากว่า 1,000 คนทีเดียว อีกไม่นานเราน่าจะมีเด็กรุ่นใหม่ที่มีทักษะและ
ใจรักด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย

อ้อยเลือกเข้าร่วมสังเกตุการณ์ Work shop ห้องนิทานค่ะ เพราเป็นคนเล่นดนตรีไม่ได้แถมร้องเพลงก็เพี้ยนผิดคีย์ซะอีก
จึงขอเล่าเรื่องราวการสัมมนาในห้องนั้นเพื่อจุดประกายเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ ผ่านนิทานมาแบ่งปันกับเพื่อนๆ
ผู้ปกครองและคุณครูค่ะ

วิทยากร อ.เทียน และ ดร.ฟ้า (ขออนุญาตเรียกชื่อเล่นในห้องสัมมนา) นำนิทานที่เราคุ้นเคย และเชื่อว่าเด็กๆทุกคนรู้จักดี
คือ “เรื่องหมูสามตัว” มาเล่าในรูปแบบใหม่ ..ไม่น่าเชื่อว่านิทานเล่มเดิมๆนี้เราสามารถเล่าในเชิงกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ทาง
คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ได้มากมาย ตามไปดูกันค่ะ เทคนิคขณะเล่า

• เมื่อเปิดหนังสือแต่ละหน้าจะตั้งคำถามก่อนเล่าเสมอ เพื่อกระตุ้นใด้เด็กๆคิด ทั้งคิดเหมือน คิดต่าง ก็ไม่เป็นไรขอให้เขา
กล้าคิดแล้วอธิบายเหตุผลของเขาออกมาได้ 

• คุณครูปิดตัวหนังสือที่เป็นเนื้อเรื่องไว้ ให้เด็กสังเกตุ วิเคราะห์และตีความเดาเนื้อเรื่องจากรูปภาพที่เห็นก่อน 

• เล่าเรื่องในหน้านั้นๆเพื่อเป็นการเฉลย ทำเช่นนี้ไปทุกหน้า กว่าจะจบเล่มใช้เวลาเป็นชั่วโมง จบแล้วอาจจะเล่ารวดเดียวให้ฟังอีกครั้ง

 

เริ่มตั้งแต่หน้าปกเลยค่ะ

ถาม :   1.  เด็กๆเห็นอะไรในภาพนี้บ้าง

           2.  หมูเหรอ? ทำไมจึงแน่ใจว่าเป็นหมู ไม่ใช่สัตว์อื่น หมูมีลักษณะเด่นอย่างไร

           3.  เด็กๆคิดว่าหมู 3 ตัวนี้เขาเป็นอะไรกัน เพราะอะไรจึงคิดอย่างนั้น? 

                คุณครูอาจตั้งประเด็นขึ้นมาว่า ถ้าเป็นพ่อลูกกันได้ไหม? หรือพวกเขาจะเป็นเพื่อนกันได้ไหม?
 
                 ได้ไม่ได้เพราะเหตุผลอะไร พยามให้เขาพูดแสดงความคิดออกมาค่ะ เช่นเป็นพ่อไม่ได้เพราะแก้มหมูมีวงแดงๆ
                 แสดงความเป็นเป็นเด็กทั้ง 3 ตัว เป็นต้น

   4.   คิดว่าตอนนี้เป็นกลางวันหรือกลางคืน?

           5.   บนปกหนังสือนี้ เด็กๆลองสังเกตุดูซิว่า หนังสือเล่มนี้แตกต่างจากนิทานปกติอย่างไร?
                ( เด็กบางคนก็จะบอกได้ว่า มีแถม DVD หรือเปล่าคะ..ใช่แล้ว)

 

ถัดจากปกไปก็เข้าสู่เนื้อเรื่อง เสียดายที่ไม่สามารถหาภาพประกอบจากอินเตอร์เนทได้ค่ะ ขอให้เพื่อนๆใช้จินตนาการจากที่
เราเคยอ่านละกันนะคะ อ้อยจะขอชี้ประเด็นคำถามที่น่าสนใจเป็นตัวอย่างค่ะ

1.  ใครอยู่ในบ้านกับลูกหมู? (ส่วนใหญ่เด็กจะตอบว่าพ่อ,แม่) เป็นคุณตา คุณยายได้ไหม? เพราะอะไร?

2.   คนไหนพ่อ คนไหนแม่รู้ได้อย่างไร?

3.   หมูใหญ่ใช้อะไรสร้างบ้าน? (ฟาง) ฟางคืออะไร? มาจากไหน?

4.   หมูกลางใช้อะไรสร้างบ้าน? (ไม้ไผ่) คืออะไร? มาจากไหน?

5.  หมูเล็กใช้อะไรสร้างบ้าน? (อิฐ) อิฐทำมาจากอะไร?

** คุณครูสามารถนำวัสดุทั้ง 3 ชนิดมาให้เด็กๆได้สัมผัส สำรวจลักษณะพื้นผิว, น้ำหนัก นร.คิดว่าวัสดุไหนแข็งแรงที่สุด

6.  ใครมาหาลูกหมู (หมาป่า) ทำไมคิดว่าเป็นหมาป่า ดูตรงไหน?  น่าจะเป็นคนดีหรือคนร้าย?

     แทรกการสอนให้ระมัดระวังคนแปลกหน้ได้ด้วยา ใครมาเคาะประตู,กดกริ่งบ้าน เด็กๆไม่รู้จักจะเปิดประตูไหม?

7.  สอนเรื่องจากภาพบ้านหมูทั้ง 3 หลัง เช่น เรื่องเวลกลางวัน - กลางคืน, ใก้ล – ไกล, ซ้าย – ขวา, ใหญ่ – เล็ก, บน – ล่าง

8.  หมูต้มน้ำในหม้อใหญ่  การต้มน้ำทำอย่างไร? อะไรทำให้น้ำเดือดได้? อะไรทำให้ไฟติด? แล้วอะไรทำให้ไฟดับ?

     คุณครูสอนเรื่องอันตรายของไฟ และเด็กๆจะต้องระมัดระวังเรื่องไฟอย่างไร เพื่อป้องกันเด็กๆจุดไฟเลียนแบบลูกหมูค่ะ

9.   ความสามัคคีช่วยเหลือกันของพี่น้อง

 

หมายเหตุ : ในการอบรมใช้นิทานเรื่องหมูสามตัว โดย อ.ตุ๊บปอง ซึ่งเป็นนิทานที่ใช้ถ้อยคำสละสลวยมีเสียงสัมผัสน่าฟัง
ซึ่งช่วยเรื่องทักษะการใช้ภาษาของเด็กๆได้เป็นอย่างดี ดังนั้น มีนิทานดีๆสักเล่ม + กับคนเล่าที่สร้างสรรค์ เราสามารถสอน
3 วิชา คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ และภาษาไทยไปพร้อมๆกับความสนุกสนานได้

 

 เมื่อนิทานจบ ก็มีกิจกรรมบูรณาการ สร้างบ้านลูกหมู โดยคุณครูจัดเตรียมวัสดุเหลือใช้หลากหลายมาให้เด็กๆเลือก
อุปกรณ์ที่ควรมีเพื่อเชื่อมต่อกระกอบเป็นบ้าน คือ เชือก หนังยาง ดินน้ำมัน แต่ไม่ให้ใช้กาวนะคะ

• ระดับเด็กเล็กอาจแค่ต่อบล็อคไม้ให้เป็นบ้านได้

• เด็กประถมก็ประดิษฐ์จากกล่องขนมต่างๆ , แกนทิชชู , ไม้ไอศครีม ฯลฯ

• สำหรับเด็กโต โจทย์การสร้างบ้านจะมีข้อจำกัดเพื่อให้ต้องคิดคำนวณมากขึ้น คือ ใช้อุปกรณ์ได้ไม่เกินกี่ชิ้น, ต้องมีลักษณะ
ที่ดูออกว่าเป็นบ้าน, ผู้ชนะคือบ้านที่มีความสูงมากที่สุดแต่ต้องไม่ล้มเมื่อโดนลมเป่า (ใช้ไดร์เป่าผมทดสอบความแข็งแรง)
และทุกกลุ่มต้องนำเสนอแนวคิดว่าใช้หลักวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์ใดบ้างในการสร้างบ้านหมูหลังนี้

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ หวังว่าจากประสบการณ์ที่อ้อยได้แบ่งปันนี้พอจะจุดประกายไอเดีย ในการเล่านิทานสอดแทรกความรู้
ให้แก่เพื่อนๆได้บ้างนะคะ

 

โหวตให้คะแนนบทความนี้
แม่น้องกานต์ (77 คะแนนที่ได้รับ)
แม่น้องกานต์ ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
เหรียญรางวัล:

ความคิดเห็น

kruna314
kruna314
kruna314 ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
สมาชิกยังไม่ได้ออนไลน์
kruna314 เสาร์, 25 กุมภาพันธ์ 2012

ดีมากค่ะ..น่าจะมีการอบรมให้กับสถานศึกษาที่ต่างจังหวัดบ้างนะคะ แต่พออ่า้่นแล้วก็พอจะมองเห็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้กับนิทานเรื่องอื่น ๆ ที่มีอยู่...จะลองทำดูนะคะ

กรุณา เข้าระบบ หากต้องการแสดงความคิดเห็นของคุณ