รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่
ฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่
เปิดกว้างสำหรับเพื่อนสมาชิกที่ชอบการเขียน การจัดบันทึก การเขียน blog ก็คล้ายกับการที่เรามีสมุดกันคนละเล่มในนี้ อยากเขียนอะไรก็เขียน จะแบ่งให้ผู้สนใจและเพื่อน ๆ ได้อ่านแล้วมีส่วนร่วมผ่านทาง comment ก็ได้ หรือจะอยากเก็บไว้เป็นการส่วนตัวก็ได้ การเขียน blog จะช่วยทำให้เรารู้จักการเรียบเรียงเรื่องราวที่ต้องการจดบันทึก การนำเสนอ และได้แบ่งปันความรู้ นานาทัศนะต่อกัน ที่สำคัญ! ยังเป็นการบันทึกไว้ในโลกอินเตอร์เน็ตที่ใคร ๆ ก็มีโอกาสได้เห็น blog ของคุณ!
- จากประสบการณ์ที่ผมช่วยสอนภาษาอังกฤษลูกทั้ง 2 คน คือ SON & SEA
- ผมคิดค้นเทคนิคช่วยจำเรื่องการใช้กริยาในภาษาอังกฤษขึ้นมาได้ ผมตั้งชื่อว่าเคล็ดลับ "หลักตัว S ของ SON & SEA " หรือ " SON & SEA ไม่เหงา" ครับ
- แนวคิดนี้เป็นข้อสังเกตในเรื่องตัว "S" ในกริยาภาษาอังกฤษ
- ผมสอนลูกว่า ถ้าประธานคนเดียวหรืออันเดียวจะเหงา พอเหงาแล้วก็เศร้า (Sad) ดังนั้นประธานชุดนี้ซึ่งได้แก่ He, She, It, This, That หรือ ชื่อคนคนเดียว ก็จะใช้กริยาที่เกี่ยวกับตัว "S" ซึ่งได้แก่ iS, waS, haS, doeS, verbS ส่วนประธานกลุ่มที่เหลือคือ I, You, We, They, These, Those ก็จัดอยู่ในกลุ่มไม่เหงา ซึ่งก็เลยไม่เศร้า ทำให้ไปใช้กริยาที่ไม่เกี่ยวกับ S เช่น are, were, have, do verb (ยกเว้น was ตัวเดียวที่ใช้กับ I ซึ่งเราก็มาสอนทีหลังได้)
- เริ่มจากสอนเด็กให้ท่องตามนี้ว่า He, She, It เหงา I, You, We, They ไม่เหงา แล้วพอถึงเวลาจะใช้ก็แนะให้ลูกดูอีกทีว่าอยู่กลุ่มไหน จะต้องเลือกใช้กริยากลุ่มที่มี S หรือไม่
ตัวอย่างกลุ่มเหงา (ทำให้เศร้าหรือ sad ที่อยู่คนเดียว ) จะต้องใช้รูป s
(ยกเว้น Verb be สำหรับ I ที่ใช้ am เป็นลักษณะเฉพาะตัว)
- He (เหงา) is a doctor.
- She (เหงา) was in the park yesterday.
- Somsak (เหงา) has two dogs.
- It (เหงา) likes to eat banana.
- This (เหงา) is a torch.
- She (เหงา) does not (หรือ doesn't) have enough money.
- Does he (เหงา) want to be a doctor?
(ดูให้ดีนะครับ ว่าพอ S มาอยู่ที่ does แล้ว ก็จะไม่อยู่ที่กริยาหลักอีก ผมบอกลูกว่ามันเหงาครั้งเดียวพอ ไม่ต้องมี S ทั้งสองที่)
ตัวอย่างกลุ่มไม่เหงา (ไม่เศร้าเพราะอยู่กันหลายคน ) เลือกกริยาที่ไม่มี s
- We (ไม่เหงา) are musicians.
- They (ไม่เหงา) were late yesterday. (อย่าลืมว่า I มีข้อยกเว้นตรงนี้ คือ I was .... )
- You (ไม่เหงา) love your parents.
- I (ไม่เหงา) have a beautiful house.
- Son & Sea (ไม่เหงา) are very smart.
- Those (ไม่เหงา) dogs are white.
- These (ไม่เหงา) are our keys.
- They do not (หรือ don't) go to the park everyday.
- Do you like soccer?
- แค่หลักง่าย ๆ แค่นี้ก็จะช่วยให้เด็ก ๆ รู้สึกสนุกกับการเรียนรู้ และยังแม่นในการใช้อีกด้วย
- ลองนำไปใช้กันดูได้ครับ ถ้าเห็นว่าดีก็ขอให้ช่วยกันเผยแพร่ต่อไปได้ด้วย คุณครูจะนำหลักนี้ไปใช้สอนเด็กก็ได้ เรียกชื่อว่าหลัก "SON & SEA ไม่เหงา" หรือ "หลักตัว Sของ SON & SEA" ก็ได้ครับ
- ก็สนุกดีครับ ผมสอนลูกเองแล้วรู้สึกว่า ได้ผลดีกว่าการท่องจำแบบไม่มีหลักจำเยอะเลย พอใช้ได้ผลก็เลยคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเด็กคนอื่น ๆ ด้วย
- อีกอย่างเด็ก ๆ ที่บ้านไม่ได้เรียนรร.สองภาษากันครับ คงต้องช่วยกันนิดนึง ถึงจะทำพวกเค้าให้เรียนภาษาอังกฤษได้อย่างสนุกสนาน มั่นใจในการนำไปใช้
- คุณ amijung ก็น่าจะสอนลูกเองด้วยใช่หรือเปล่าครับ ถ้ามีเทคนิคอะไรที่น่าสนใจ ก็สามารถนำมาแบ่งปันกันได้ด้วยครับ
ภาษาอังกฤษของลูกประมาณว่าพอพูดสื่อสารได้บ้างตามระดับของเด็กๆ ส่วนการอ่านและเขียนยังอยู่ระหว่างการฝึกฝน ไม่ถึงขั้นตามแนวคาทอลิก เพราะทางแนวคาทอลิกจะเก่งทางภาษากว่ามากชั่วโมงการเรียนทางภาษามากกว่าเยอะ ของดิฉันเน้นพูดคุยสื่อสารให้เข้าใจไปตามแนวธรรมชาติที่ใช้ได้ตามชีวิตประจำวัน ไม่ได้เก่งมากค่ะ แค่เอาตัวรอดได้ ส่วนเรื่องทักษะอื่นๆก็ค่อยเป็นค่อยไปค่ะ เพราะลูกสนใจหลายด้านกิจกรรมเยอะ พยายามเสริมให้เท่าที่ลูกจะรับได้ วันไหนนึกอยากจะอ่านอังกฤษก็หยิบมาอ่าน นั่งคุยกัน ตอนไหนอยากจะรู้คำศัพท์ญี่ปุ่นขึ้นมาก็หยิบหนังสือมาค้นดู บางทีก็อ่านวิทย์ อ่านการ์ตูนความรู้ อ่านไปเรื่อยๆค่ะ เลยบอกไม่ถูกว่าลูกชอบอะไรเพราะไปได้เรื่อยๆทุกอย่าง เทคนิคการจำมีหลายวิชาแต่ว่า หาเวลามาแชร์ด้วยค่อนข้างน้อย ต้องออกตัวก่อนว่า ไม่ได้รู้อะไรเยอะเลย สอนแบบค่อยเป็นค่อยไปจริงๆอาศัยเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือเวลาพาไปพิพิธภัณฑ์ก็จะเสริมความรู้ให้ตลอดประมาณว่าทำแบบ project approach. คุยเรื่องเดียวแต่ได้หลายวิชา ลูกเลยมีความคิดต่อยอดแบบ mind map เพราะงั้นเวลาคุยกับเอมิและนัตซึเลยลื่นไหลไปได้ทุกเรื่อง ดิฉันสอนลูกแบบวิธีบ้านๆแหละค่ะ
เป็นคุณพ่อที่น่ารักมากเลยค่ะ มีเวลาเอาใจใส่สอนลูกด้วยตัวเองแต่ก็ไม่ได้เข้มงวดจัด ยึดลูกเป็นหลักว่าขณะนั้นลูกอยาก
เรียนรู้อะไร น้องน่าจะเรียนรู้อย่างมีความสุข
- แหะ ๆ ที่คุณอ้อยชมเนี่ย เป็นฝีมือเลี้ยงลูกระดับกูรูของคุณแม่น้องเอมิจังครับ ไม่ใช่ผมหรอก ของผมได้แค่ช่วยสอนลูกนิด ๆ หน่อย ๆ ตอนอนุบาลน่ะครับ ตอนนี้เพิ่งจะเปิดเทอมป.1 ได้ 3 วัน ดูท่าจะไม่มีเวลามาสอนอะไรที่เป็นเรื่องเป็นราวเหมือนตอนอนุบาลแล้ว แต่ถ้ามีอะไรที่ดูน่าจะเป็นประโยชน์ก็คงจะนำมาเล่าให้เพื่อน ๆ ในนี้อ่านต่ออีกที
- ผมอยากสอนลูกแบบ project approach แบบคุณแม่เอมิจังบ้างจังครับ แต่พ่อแม่ต้องทำการบ้านเยอะหรือต้องเก่งมาก ๆ เลยทีเดียว คือพอเจอเรื่องอะไรก็สามารถเชื่อมโยงวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาชี้ให้ลูกเห็นได้ คงจะมีไม่กี่บ้านที่สามารถจะทำตรงนี้ได้ดี ถ้าคุณแม่เอมิจังมีเวลา จะขอให้ช่วยเขียนบทความเรื่องนี้ให้ฟังหน่อยครับ เพราะน่าจะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ยุคใหม่ได้มาก แล้วผมจะตั้งหน้าตั้งตารออ่านครับ
- ผมเคยได้ยินแนวทางการเรียนของลูกเพื่อนที่อยู่รร.อินเตอร์ครับ อาจจะดูคล้ายกัน คือคุณแม่เค้าเล่าว่า เวลาเรียนเรื่องน้ำ เลขก็จะเรียนเกี่ยวกับเรื่องน้ำ เช่นเดียวกับวิทย์และอื่น ๆ ก็จะมาเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งทำให้เด็กรู้จักเชื่อมโยงความรู้วิชาต่าง ๆ เข้ากับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เรียนแบบแยกส่วน หรือเน้นให้ท่องจำแบบที่รร.ส่วนใหญ่ของเราทำกันอยู่
www.karn.tv สื่อการสอนระดับ อนุบาล - ประถมต้น (ช่วงชั้นที่ 1) รวมแบบฝึกหัด ตัวอย่างข้อสอบ กิจกรรมเพิ่มทักษะ ข้อมูลการศึกษา โรงเรียน |
เทคนิคไม่เหมือนใครเลยค่ะ สนุกกับสอนภาษาอังกฤษอยู่ใช่ไหมค่ะ