รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่


ฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่

เกมคิดราคาอาหารร้าน fast food


ป้ายโฆษณา

ป้ายโฆษณา

ก่อนซื้อโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์มือสอง ตรวจ S/N ที่แจ้งหาย/ถูกขโมยที่นี่!! BlockSerial.Com
คุณกำลังหาหรืออยากได้อะไรใน karn.tvclick ที่นี่!

 

Blog Me!

เปิดกว้างสำหรับเพื่อนสมาชิกที่ชอบการเขียน การจัดบันทึก การเขียน blog ก็คล้ายกับการที่เรามีสมุดกันคนละเล่มในนี้ อยากเขียนอะไรก็เขียน จะแบ่งให้ผู้สนใจและเพื่อน ๆ ได้อ่านแล้วมีส่วนร่วมผ่านทาง comment ก็ได้ หรือจะอยากเก็บไว้เป็นการส่วนตัวก็ได้ การเขียน blog จะช่วยทำให้เรารู้จักการเรียบเรียงเรื่องราวที่ต้องการจดบันทึก การนำเสนอ และได้แบ่งปันความรู้ นานาทัศนะต่อกัน ที่สำคัญ! ยังเป็นการบันทึกไว้ในโลกอินเตอร์เน็ตที่ใคร ๆ ก็มีโอกาสได้เห็น blog ของคุณ!

โพสต์โดย แม่น้องกานต์
แม่น้องกานต์
แม่น้องกานต์ ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
สมาชิกยังไม่ได้ออนไลน์
เมื่อ อังคาร, 20 มีนาคม 2012
ใน การเลี้ยงลูก

สอนลูกอย่างไรให้คิดเป็น

หนักใจกับเด็กๆยุค Copy & Paste ซะจริงๆ คำว่าคิดไม่ออก , ไม่รู้ นี่ออกมาก่อนเลยทั้งๆที่เค้ายังไม่ได้ลองคิดซะด้วยซ้ำนะคะ
บ้านไหนเป็นบ้างยกมือขึ้น...ตอนนี้ที่บ้านเราเลยมีกฏว่า ห้ามตอบว่า "คิดไม่ออก หรือไม่รู้" สวนมาโดยที่ยังไม่ได้ลงมือคิด
ขนาดว่าเราเลี้ยงลูกแบบประชาธิปไตยมีเหตุผลประกอบ คือให้ลูกเสนอความเห็นความต้องการของเขาได้ เราจะถามถามความเห็น
/เหตุผลของลูกในเรื่องนั้นๆก่อน ถ้าฟังดูok พ่อแม่ก็ยอมตามลูก  แถมลูกเรียนมาแนวคิดวิเคราะห์ก็ยังมีปัญหานี้ได้

ดังนั้นเรามารู้วิธีสอนลูกให้รู้จัดคิดเป็นกันค่ะ "วัยคิดส์รู้จักคิด" / นิตยสารรักลูก ฉบับที่307 ปี 2551


การเปิดโอกาสให้ลูกวัยคิดส์ได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองอย่างสร้างสรรค์นั้น ให้ประโยชน์มากมาย อาทิ ช่วยพัฒนาอารมณ์ สังคม
ความคิดสร้างสรรค์ วิธีแก้ปัญหา แยกแยะเรื่องดี ไม่ดี และแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาได้

วัยคิดส์รู้จักคิด

เด็กวัยคิดส์ส่วนใหญ่จะแสดงความรู้สึกด้านอารมณ์มากเป็นพิเศษค่ะ ทั้งรัก โกรธ เกลียด ไม่พอใจ ฯลฯ แต่เชื่อไหมว่า ที่จริงแล้วเด็กๆ
สามารถบอกได้แล้วว่าอะไรควร ไม่ควร ดี ไม่ดี แถมแสดงเหตุผลต่อสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุ 4 ขวบ หากได้รับโอกาสร่วมวงแสดงความ
คิดเห็นอยู่บ่อยๆ ค่ะ

การเปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็นทำไม่ยาก แค่คุณพ่อคุณแม่หมั่นถามคำถามปลายเปิด ซึ่งลูกต้องใช้ความคิดในการวิเคราะห์เหตุการณ์
ที่เกิดขึ้น จะช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาให้เกิดขึ้นโดยง่าย

ตัวอย่างคำถามที่ช่วยกระตุ้นทักษะ...

  • ไหนมีอะไร ลองเล่าให้พ่อ/แม่ฟังหน่อยสิจ๊ะ?
  • ลูกรู้สึกยังไงบ้าง ตอนที่...?
  • มีอะไรเกิดขึ้นอีกรึเปล่าจ๊ะ? ตอนนั้น...(บุคคลที่ 3)...ทำหรือพูดอะไรบ้างคะ?
  • ลูกคิดว่าจะทำอย่างไรดี ?

สอนลูกวัยคิดส์ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

Creative thinking+Critical thinking = Solve problem

กระบวนการเสริมทักษะจัดการปัญหาผ่านการคิด แบ่งเป็น

1. คิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)

คือความคิดในวิถีทางที่แตกต่าง เกิดจากความอยากรู้ อยากทดลอง เด็กๆ ที่ได้รับการส่งเสริมหรือกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นเด็ก
ที่มีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น และสามารถหาแนวทางในการแก้ปัญหาได้หลากหลาย ดังนั้น กิจกรรมที่สร้างขึ้นควรส่งเสริมให้ลูก
ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมา เช่น...

  • แสดงความคิดเห็น เปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความเห็นโดยถามคำถามที่อยู่ในความสนใจของลูก เช่น หากมีเวลาพูดคุยกับลูกก่อนเข้านอน อาจตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องง่ายๆ ที่ลูกสามารถตอบได้ เช่น “ลูกคิดว่าอะไรที่ให้แสงสว่างตอนกลางคืนบ้างคะ?” “ตอนกลางคืนยังมีใครทำงานอยู่บ้าง?”
  • ครุ่นคิด ไตร่ตรอง ถามเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดในห้อง คุณอาจเล่านิทาน หรือเรื่องราวง่ายๆ ที่มีส่วนของอารมณ์ และพฤติกรรมของตัวละคร แล้วถามเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวละครได้กระทำลงไป เช่น ในนิทานเรื่องกระต่ายกับเต่าคุณอาจถามลูกว่า “ทำไมเจ้ากระต่ายจอมซนถึงวิ่งเร็วแซงเจ้าเต่าไปได้นะ?”

2. คิดวิเคราะห์ (Critical thinking)

เป็นความสามารถทางด้านจิตใจที่จะวิเคราะห์เหตุการณ์ แบ่งประเภท จัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง การคิดแบบนี้มีเรื่องของตรรกะ หรือกระบวนการคิดซึ่งอยู่บนเหตุและผลของการกระทำค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมลูกโดย...

  • ฝึกฝน เปิดโอกาสให้ลูกได้ฝึกฝนการวิเคราะห์ หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องไม่ลืมให้ลูกพูดถึงเหตุและผลของเขาด้วย โดยการตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อฝึกวิเคราะห์เหตุการณ์ก่อนที่จะลงมือทำ เช่น “ทำยังไงตัวต่อที่เราเล่นกันอยู่จะสูงกว่านี้นะ?” “เราจะต่อตัวต่อให้เป็นรูปทรงแปลกกว่านี้ได้ยังไง?”
  • ตั้งคำถาม ที่เข้าใจได้ง่ายโดยไม่ต้องคำนึงว่าคำตอบที่ได้รับจะถูกหรือผิด ส่วนคำถามที่เลือกใช้ก็ต้องไม่ธรรมดาจนเกินไป แต่ควรสร้างความสงสัยประหลาดใจให้กับลูกด้วยค่ะ เช่น “ทำไมแม่ถึงมีเงาอยู่บนสนามหญ้า แต่เวลาอยู่ในบ้านไม่มี?” หรือ “ทำไมเรามองไม่เห็นลม?” เทคนิคนี้จะช่วยกระตุ้นให้ลูกแสดงความคิเห็นแบบทันทีทันใดเลย

หากคุณพ่อคุณแม่หมั่นฝึกฝนทั้งคิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล กระบวนการนี้ไปพร้อมๆ กับ รับรองว่าลูกจะจัดการกับปัญหาต่างๆ ด้วยตัวเองได้ไม่ยากค่ะ

โหวตให้คะแนนบทความนี้
แม่น้องกานต์ (77 คะแนนที่ได้รับ)
แม่น้องกานต์ ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
เหรียญรางวัล:

ความคิดเห็น

kruna314
kruna314
kruna314 ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
สมาชิกยังไม่ได้ออนไลน์
kruna314 พุธ, 21 มีนาคม 2012

เด็ก ๆ มีความคิดที่หลากหลาย บางครั้งก็จะตอบคำถามแบบที่ครูคาดไม่ถึงก็มีนะคะ
สิ่งที่สำคัญพ่อแม่นี่แหละค่ะที่จะเป็นผู้กระตุ้นความคิดของเด็ก ๆ ให้กว้างไกลเพราะเด็ก ๆ
จะมีความใกล้ชิดมากกว่าครู แต่ในชนบท ทำค่อนข้างยาก สำหรับการให้พ่อแม่ได้รู้จัก
ฝึกลูกให้รู้จักคิด บางเรื่องครูนาเคยพยายามทำแล้วแต่ไม่ประสบผลสำเร็จค่ะ

amijung
amijung
amijung ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
สมาชิกยังไม่ได้ออนไลน์
amijung พุธ, 28 มีนาคม 2012

บางทีก็คิดว่ามันเป็นความไม่สมดุลย์กันระหว่างเด็กที่อยู่กับครอบครัวที่มีพ่อแม่อยู่ในเมืองกับต่างจังหวัด โดยส่วนมากเด็กในเมือง พ่อแม่มีเวลาให้บ้าง หรือไม่มีเลย ต้องอาศัยครู หรือไม่เด็กก็ช่างดื้อ ซะจนไม่ฟังเราเลย(ทั้ง ๆที่บรรดา พ่อแม่ล้วนแต่มีความรู้และความสามารถกันซะส่วนใหญ่ ) ส่วนต่างจังหวัด เด็กว่านอนสอนง่าย ไม่มีสิ่งเร้ามาก แต่ก็ไม่พร้อมในตัวพ่อแม่ที่อาจจะไม่รู้ถึงวิธีที่จะกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ให้กับลูกของตัวเอง ซึ่งพ่อแม่หรือผู้ปกครองส่วนใหญ่น่าจะมีเวลามากกว่า มันเลยกลายเป็นว่าอะไร ๆ มันก็เลยไม่ลงตัว เป็นกำลังใจให้ครูนา ค่ะ อยากให้คุณครูทุกคนมีความรักและเข้าใจเด็กอย่างน่ารักและอบอุ่นอย่างคุณครูนาเยอะ ๆเลยค่ะ สังคมของเราคงจะได้ต้นกล้าที่ดีเติบโตอีกมากมาย พยายามต่อไปนะคะ คุณครูนาที่น่ารักค่ะ

visun35
visun35
visun35 ยังไม่ได้ตั้งค่าประวัติส่วนตัว
สมาชิกยังไม่ได้ออนไลน์
visun35 อาทิตย์, 25 มีนาคม 2012

การฝึกของน้องส้มโอเมื่อมีโอกาสก็จะพยายามตั้งคำถามให้เขาตอบก่อนแต่บางทีเราก็เป็นผู้ตอบปัญหา แต่จะพยายามปลูกแนวทางให้ว่าเพราะอะไรถึงได้ตอบแบบนั้น มีหลักสังเหตุอย่่างไร
เมื่อเวลาผ่านไปแนวทางท่ีเราปลูกเอาไว้น้องเขาจะจำได้ว่าควรท่ีจะตอบเราอย่างไร มันก็ไม่ไปไกลห่างจากตัวเราเลยเพราะนั่นคือเงาสะท้อนของความคิดของเรา มันจะทำให้เราอมยิ้มได้เสมอเมื่อเวลาเขาตอบคำถาม

กรุณา เข้าระบบ หากต้องการแสดงความคิดเห็นของคุณ