รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่


ฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่

เกมคิดราคาอาหารร้าน fast food


ป้ายโฆษณา

ป้ายโฆษณา

ก่อนซื้อโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์มือสอง ตรวจ S/N ที่แจ้งหาย/ถูกขโมยที่นี่!! BlockSerial.Com
คุณกำลังหาหรืออยากได้อะไรใน karn.tvclick ที่นี่!

ทักษะการวัด

พิมพ์อีเมล

( 15 Votes )

ทักษะการวัด

             การวัด (Measurement) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่าง ๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ
ทิพย์วัล สีจันทร์ (2531 :19) กล่าวถึงการใช้คำถามเพื่อฝึกฝนให้ผู้วัดหาคำตอบและกระทำตาม คือ
             1. จะวัดอะไร คำถามนี้จะทำให้ผู้วัดได้รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด รู้จักธรรมชาติของสิ่งนั้น เช่น วัดความกว้าง ยาว สูง ของแท่งไม้ วัดปริมาตรของน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ วัดอุณหภูมิ วัดน้ำหนัก
             2. จะวัดทำไม คำถามนี้ช่วยให้เราทราบความมุ่งหมายที่จะวัดว่า ต้องการทราบอะไร เช่น ความยาว ปริมาตร น้ำหนัก ความแข็ง อุณหภูมิ ฯลฯ และต้องการความละเอียดมากน้อยเพียงใด
             3. จะวัดด้วยอะไร คำถามนี้ต้องการทราบถึงการเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสิ่งของที่จะวัดและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะ วัดด้วย
             4. จะวัดอย่างไร คำถามนี้ถามถึงวิธีการที่เราจะวัด เช่น วัดโดยการนับจำนวนและนับโดยใช้ลำดับที่ เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง ต่อไป สุดท้าย คู่ วัดโดยการตวง วัดโดยการชั่ง วัดโดยการเปรียบเทียบ เป็นต้น

  ส่วนด้านการวัดนั้น สำนึก โรจนพนัส (2528 : 29) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการวัดของเด็กอนุบาลว่า เป็นเพียงพื้นฐานเบื้องต้นของการวัด เช่น การกะปริมาณ กิจกรรมใดก็ตามที่จะให้เด็กชี้หรือบอกว่าสิ่งที่เขาสัมผัสอยู่นั้น หนัก เบา ใหญ่ เล็ก ฯลฯ ล้วนเป็นการเตรียมความพร้อมทางการวัดทั้งสิ้น

ในด้านปริมาณ ประภาพรรณ สุวรรณศุข (2527 : 376) ได้อธิบายถึงการให้เด็กปฐมวัยบอกปริมาณของวัตถุต่าง ๆ ว่า ควรจะมุ่งในเรื่องของปริมาณที่สามารถมองเห็นได้ชัดและเป็นหน่วยใหญ่ ๆ ไม่ควรสนใจในเรื่องหน่วยย่อย เช่น การเปรียบเทียบโต๊ะ 2 ตัว ว่าตัวใดยาวกว่า ครูอาจแนะนำให้เด็กสังเกตด้วยสายตา อาจจะใช้สายวัดมาวัดดู อาจจะทำเครื่องหมายบนสายวัดเอาไว้ เด็กก็จะสามารถมองเห็นความแตกต่างกันได้ แต่ครูไม่ควรบอกเด็กว่าโต๊ะตัวแรกยาว 12 นิ้ว
1 เซนติเมตร โต๊ะตัวที่สองยาว 11 นิ้ว โต๊ะตัวไหนยาวกว่ากัน การบอกความยาวเป็นเช่นนี้ เด็กจะยังไม่สามารถเข้าใจเกี่ยวกับมาตราได้ดี เด็กก็จะตอบคำถามไม่ได้ ซึ่งอาจจะมีผลทำให้เด็กไม่สนใจเรียน และการให้เด็กแสดงปริมาณของวัตถุ ไม่ควรใช้การสังเกคด้วยสายตาเพียงอย่างเดียว ควรให้เด็กได้ใช้วิธีต่าง ๆ ให้มากที่สุด

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการวัด

 

ตัวอย่างการวัดอย่างง่าย ได้แก่ วัดโต๊ะเรียนสูงกี่คืบ กระดานดำยาวกี่ศอก น้ำมี
ปริมาตรกี่ปี๊บ ระยะเวลาเรียนหนังสือนานเพียงไร (อาจตอบว่าตั้งแต่หลังเคารพธงชาติ จนถึงเวลาอาหารกลางวันหรือพระอาทิตย์ตรงศรีษะ)