รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่
ฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่
ที่นั่งนิรภัย ที่นั่งนิรภัย (car seat) หรือ ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก (child seat) เป็น นวัตกรรมที่ส่งผลลดการเสียชีวิตของเด็กจากการเดินทางด้วยรถยนต์อย่างมาก ในประเทศพัฒนา ไม่ว่าประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และในยุโรปตะวันตก ได้มีกฎหมายบังคับและคำแนะนำการใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กมานานหลายปีแล้ว ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมทั้งการให้คำแนะนำและแนวทางการลดการบาดเจ็บโดยใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับ เด็กตั้งแต่ปี ค.ศ. 1983 มีการศึกษาที่พบว่า ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กจะลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในทารกถึงร้อยละ 69 และเด็กอายุ 1-4 ปี ร้อยละ 47 ขณะเดียวกันจะลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของเด็กอายุมากกว่า 5 ปีได้ร้อยละ 45 และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงร้อยละ 50 การศึกษาผลจากอุบัติเหตุรถยนต์ชนรุนแรงในเด็กอายุ น้อยกว่า 11 ปี จำนวนถึง 5,972 คน พบว่าเด็กที่ไม่ได้รับการยึดเหนี่ยวไว้จากที่นั่งนิรภัยหรือเข็มขัดนิรภัย อย่างถูกวิธีจะเสียชีวิตในอุบัติเหตุที่รุนแรงเป็น 2 เท่าของเด็กที่ถูกยึดเหนี่ยวไว้อย่างถูกวิธี มีการศึกษาที่ประเทศกรีกในเด็กอายุ 0-4 ปีที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถยนต์ และถูกนำส่งห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล พบว่า ความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บของเด็กที่ไม่ได้ใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก เท่ากับ 3.3 เท่า เทียบกับเด็กที่อยู่ในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก จากการวิเคราะห์ของผู้วิจัย ประมาณว่า 2 ใน3 ของการบาดเจ็บในเด็กจะถูกป้องกันได้ ถ้ามีการบังคับใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กในรถอย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการ ลดการบาดเจ็บก็ขึ้นกับวิธีการใช้ที่ถูกต้องด้วย หากใช้ผิดวิธีจะเกิดผลเสียได้ ข้อแนะนำการใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก 1. เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีหรึอน้ำหนักน้อยกว่า 10 กิโลกรัม ต้องใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับทารก (infant seat) (รูปที่ 1) หรือ ที่นั่งนิรภัยทารกและเด็กเล็ก (convertibleseat) (รูปที่ 2) ที่สามารถใช้กับเด็กอายุ 1-5 ปีได้ด้วย แต่ต้องใช้บนที่นั่งด้านหลังและหันหน้าไปทางด้านหลัง
รูปที่ 1 ที่นั่งนิรภัยสำหรับทารก infant seat
รูปที่ 2 ที่นั่งนิรภัยทารกและเด็กเล็ก convertible seat
รูปที่ 3 ที่นั่งนิรภัยเสริม booster seat
ที่มา : ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ขอขอบคุณ : http://www.csip.org |
www.karn.tv สื่อการสอนระดับ อนุบาล - ประถมต้น (ช่วงชั้นที่ 1) รวมแบบฝึกหัด ตัวอย่างข้อสอบ กิจกรรมเพิ่มทักษะ ข้อมูลการศึกษา โรงเรียน |