รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่
ฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่
นกยูง |
ในบรรดาสัตว์โลกนานาชนิด นกยูงดูจะเป็นสัตว์ที่สร้างความสดใส รื่นเริงให้โลกเต็มไปด้วยชีวิตชีวามากที่สุด ไม่ว่าเสียงร้องขับกล่อม อันไพเราะหรือขนปีกหลากสีสัน ที่บางชนิดก็มีลวดลายแต่งแต้มจนดูน่าอัศจรรย์ และหนึ่งในจำนวนนกงามทั้งหลายนั้น นกยูงได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ดังนั้นเรื่องราวของนกยูงจึงปรากฏอยู่ในภาพเขียน บทกวี และลัทธิความเชื่อ ของชนหลายประเทศ ทั้งชาวฮินดู จีน อียิปต์ และชนพื้นเมืองแถบเมดิเตอร์เรเนียนรวมทั้งไทยด้วย มาทำความรู้จักกับนกยูง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร : Animalia ไฟลัม : Chordata ชั้น : Aves อันดับ : Galliformes วงศ์ : Phasianidae สกุล : Pavo,Linnaeus, 1758 Speciues : Pavo cristatus, Pavo muticus นกยูง เป็นนกตระกูลไก่ฟ้าขนาดใหญ่ ที่มีอยู่ด้วยกัน 2 สกุล ในโลก คือ สกุลของนกยูงทางทวีปแอฟริกา ได้แก่ นกยูงคองโก และ สกุลของนกยูง ทางทวีปเอเซีย ที่ยังแบ่งเป็น 2 ชนิดพันธุ์ ได้แก่ นกยูงอินเดีย หรือ นกยูงสีน้ำเงิน กับ นกยูงไทย หรือ นกยูงสีเขียว ซึ่งนักวิชาการบางท่าน ก็ไม่ถือว่านกยูงคองโกเป็นนกยูง เพราะลักษณะภายนอก และพฤติกรรมต่างๆ แตกต่างจากนกยูงอินเดีย และนกยูงไทยมาก สายพันธุ์ของนกยูง สำหรับนกยูงสีเขียว ยังแบ่งกระจายออกอีกเป็น 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์พม่า สายพันธุ์ชวา และ สายพันธุ์อินโดจีน ซึ่งสองสายพันธุ์หลังนี้ มีพบกระจาย พันธุ์ในประเทศไทย โดยสายพันธุ์ชวาพบอยู่ทางใต้ ส่วนสายพันธุ์อินโดจีน พบได้ทั่วไปในอาณาบริเวณที่อยู่เหนือคอคอดกระ สมัยก่อนตามริมลำน้ำสายใหญ่ ใกล้แนวป่า เช่น แถบลำน้ำปิง ลำน้ำพอง ลำน้ำตาปี ลำน้ำแควใหญ่ และแควน้อย มักพบเห็น นกยูงได้ทั่วไป ทว่าปัจจุบันนกยูงเหล่านี้ ไม่มีผู้ใดได้พบเห็น หรือได้ยินเสียงร้องของมันอีกเลย เพราะอิทธิพลความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น จากการพัฒนาของมนุษย์ ซึ่งปรับเปลี่ยนพื้นที่ตามริมลำน้ำ ให้กลายเป็น ชุมชน บ้านเรือน หรือพื้นที่เกษตรกรรม เป็นผลให้นกยูง สูญเสียถิ่นอาศัย และ นกยูงชนิดนี้ก็ไม่สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ อย่างนกยูงอินเดีย ประกอบกับยังถูกล่าเพื่อเอาขน และ ดักจับลูกนก มาขายมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้จำนวนนกยูงสีเขียว ที่เคยมีอยู่ทั่วทุกภาค ของประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว และหมดไปจากพื้นที่หลายแห่ง ไม่เพียงประเทศไทยเท่านั้น ที่ประสบปัญหาอันน่าเป็นห่วงนี้ ในประเทศข้างเคียง ยกเว้นประเทศพม่าเพียงประเทศเดียว ก็ตกอยู่ในสภาวะเดียวกัน กระทั่งในรายงานของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ ธรรมชาติ และทรัพยากร ( IUCN ) ได้จัดให้เป็น สัตว์ที่กำลังถูก คุกคาม และ อาจหมดไปในอนาคตอันใกล้นี้ ข้อมูลจำเพาะของนกยูง นกยูงทั่วโลก มีอยู่ 2 สกุล คือ สกุลของนกยูงทางทวีปเอเซีย ( Pavo ) และ สกุลของนกยูงทางทวีป แอฟริกา (Afropavo ) สกุล Pavo แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ นกยูงอินเดีย ( Indian peafowl หรือ Blue Peafowl ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pavo cristatus และ อีกชนิดหนึ่งคือ นกยูงไทย ( Green Peafowl ) สำหรับนกยูงคองโกนั้น นักปักษีวิทยาหลายท่านยังไม่เห็นด้วย ที่จะจัดให้เป็นนกยูงชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะคุณสุวัฒน์ สิงหพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และฝ่ายเพาะเลี้ยง กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ซึ่งเคยไปเห็นนกยูงคองโก ตัวจริง ที่ประเทศอังกฤษ มีความเห็นว่า นกยูงคองโก มีลักษณะคล้ายนกยูงเท่านั้น แต่พฤติกรรม แตกต่างจาก นกยูงอินเดีย และ นกยูงไทย มาก จึงไม่น่าที่จะจัดให้อยู่ในสกุลนกยูง พฤติกรรมในฤดูผสมพันธุ์ของนกยูง ช่วงฤดูผสมพันธุ์ ของ นกยูงสีเขียว มีความผันแปร แตกต่างกันไปในประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทย ยังไม่ทราบ ช่วงเวลาที่แน่นอน แต่เมื่อเทียบกับพม่า ที่ตั้งอยู่ใน ตำแหน่งใกล้เคียงกันแล้ว Smythies คาดว่า ฤดูผสมพันธุ์ จะตกอยู่ในช่วงเดือน ธันวาคม ถึง พฤษภาคม แต่สำหรับ นกยูง ในป่าห้วยขาแข้ง พบว่า ฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน อยู่ระหว่าง เดือน พฤศจิกายน ถึง มีนาคม
ขอขอบคุณ: http://th.wikipedia.org |
www.karn.tv สื่อการสอนระดับ อนุบาล - ประถมต้น (ช่วงชั้นที่ 1) รวมแบบฝึกหัด ตัวอย่างข้อสอบ กิจกรรมเพิ่มทักษะ ข้อมูลการศึกษา โรงเรียน |