รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่
ฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่
จิงโจ้บิน
มาทำความรู้จักชูการ์ไกรเดอร์กันก่อน Sugar Glider SCIENTIFIC NAME ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Petaurus Breviceps COMMON NAME ชื่อสามัญ Sugar Glider SIZE ขนาด โตเต็มที่วัยจากจมูกถึงหางก็ประมาณ11นิ้ว WEIGHT น้ำหนัก แรกเกิดจะหนักประมาณ 0.19 กรัม GESTATION ระยะเวลาตั้งท้อง ระยะเวลาตั้งท้อง: 16 วัน LIFE SPAN อายุขัย 15 ปี DIET อาหาร ซีรีแลค หนอนนก จิ้งหรีด ผักผลไม้ RANGE ถิ่นกำเนิด ออสเตรเลีย นิวกินี อินโดนีเซีย |
ชู การ์ไกรเดอร์หรือที่เมืองไทยเรียกกันว่า กระรอกบินออสเตรเลียเป็นสัตว์ประเภทกระรอกบินจัดอยู่ในตระกูลจิงโจ้ (marsupials) เพราะชูการ์ไกรเดอร์เพศเมียจะมีถุงหน้าท้อง (pouch) เหมือนเจ้าจิงโจ้ พวกมันเป็นสัตว์ตื่นกลางคืนนอนกลางวัน (nocturna) และจะเปรียวมากในตอนดึก ตามธรรมชาติชูการ์ไกรเดอร์จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ ดังนั้นธรรมชาติจึงสร้าง กรงเล็บอันแหลมคมให้มันเพื่อใช้เกาะเวลามันกระโดดจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีก ต้นหนึ่ง แต่เพื่อนๆที่คิดจะเลี้ยงไม่ต้องกลัวว่าเล็บของมันจะจิกเนื้อเรา เพราะว่าเราสามารถจับมันตัดเล็บได้ แต่เพื่อนๆต้องระวังเวลาตัดหน่อยนะเพราะมันเป็นสัตว์ที่ไม่อยู่นิ่ง ส่วนหางของมัน จะทำหน้าที่เป็นเหมือนหางเสือเรือที่ไว้ใช้บังคับทิศทาง คนส่วนมากมักเข้าใจว่า เจ้าชูการ์ไกรเดอร์บินได้เพราะเรียกมันว่ากระรอกบิน แต่จริงๆมันบินไม่ได้ แต่มันจะร่อนจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเท่านั้นเอง ในอเมริกานิยมเลี้ยงชูการ์ไกรเดอร์เป็นสัตว์เลี้ยงเอามากๆ พวกมันมีอยู่ประมาณเกือบ 10 สี แต่ในเมืองไทยตอนนี้มีแค่สีเดียวคือลีเทา ขนเจ้าชูการ์ไกรเดอร์เนี่ยจะนุ่มมากๆ ข้างลำตัวของมันจะมีพังพืด (patagium) ซึ่งสามารถกางได้จากขาหน้าไปถึงขาหลัง เพื่อลู้ลมเวลามันร่อน อาหาร อาหารหลักๆของเจ้าชูการ์ไกรเดอร์ควรจะให้ ซีรีแลค (อาหารเสริมเด็กอ่อน) มีขายตามซุปเปอร์มารเก็ดทั่วไป หรือถ้าจะให้สะดวกก็ที่เซเว่นอีเล่เว่น อาหารหมาก็ให้ได้เพื่อความสะดวก หรือจะเป็นผักผลไม้ โดยเฉพาะองุ่นดำเนี่ยชอบมากๆ ส่วนอาหารเสริมก็เป็นพวกหนอนนก จิ้งหรีด แต่ไม่ควรให้บ่อยจนเกินไป กรง และที่อยู่อาศัย สำหรับที่อยู่ของเจ้ากระรอกบิน หาได้ทั่วไป อาจจะใช้กรงนก หรือ กรงกระรอก แต่ควรจะมีขนาดพอสมควรเพื่อให้เจ้าชูการ์สามารถกระโดดเล่นได้ เจ้าของอาจเพิ่มอุปกรณ์เสริมเข้าไปในกรงของเค้า เช่น ท่อนไม้, ห่วงกำไร, กระจก และที่สำคัญคือถุงนอน เพราะเจ้ากระรอกบินเนี่ยจะชอบซุกในถุงนอนเอามากๆ อุณหภูมิ เจ้าชูการ์เนี่ยไม่ชอบอากาศหนาวเท่าไรนัก ในอเมริกาเมื่อถึงหน้าหนาวเจ้าของจะต้องมีฮีทเตอร์ติดเอาไว้ใต้กรงเพื่อให้ ความอบอุ่น มันชอบอุณหภูมิประมาณ 18-31 องศาเซลเซียส สำหรับอากาศเมืองไทยเจ้าชูการ์อยู่ได้สบาย การดูเพศ ถ้าเป็นเพศเมียเราสามารถสังเกต ง่ายๆครับ โดยที่ว่า ตัวเมีย จะมีถุงหน้าท้องเหมือนจิงโจ้ แต่ถ้าเป็นเพศผู้อวัยวะสืบพันธุ์จะอยู่ห่างจากทวารประมาณ ครึ่งนิ้วถึงหนึ่งนิ้วแล้วแต่ขนาดตัวคล้ายๆ กับการ ดูเพศของ หนูแฮมสเตอร์ และเม่นแคระ เลยครับ ระยะเวลาตั้งท้อง ชูการ์ไกรเดอร์เป็นสัตว์ที่มีระยะเวลาตั้งท้องแค่ 16 วันเท่านั้นพวกมันผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ให้ลูก1-3 ตัว แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะให้1-2 ตัวเท่านั้น แรกเกิดจะมีน้ำหนักแค่0.19 กรัม ไม่มีขน หลังจาก ลูกชูการ์ไกรเดอร์คลอดออกมาแล้วมันจะคลานกลับเข้าไปอยู่ในถุงหน้าท้องของแม่ ซึ่งภายในจะมีเต้านมอยู่ 2 เต้า สำหรับเจ้าชูการ์น้อย และมันจะอยู่ในนั้นอีกประมาณ 2 เดือน หลังจาก 2 เดือน เจ้าชูการ์น้อยก็จะเข้าๆออกๆจากถุงหน้าท้องของแม่ และใช้เวลาอีกประมาณ 2 อาทิตย์ก็จะลืมตาและสามารถแยกออกจากแม่ของเค้าได้ ขอขอบคุณ: http://www.ppao.go.th/sugarglider/suga1.htm |
www.karn.tv สื่อการสอนระดับ อนุบาล - ประถมต้น (ช่วงชั้นที่ 1) รวมแบบฝึกหัด ตัวอย่างข้อสอบ กิจกรรมเพิ่มทักษะ ข้อมูลการศึกษา โรงเรียน |