ป้ายโฆษณา

ป้ายโฆษณา

ก่อนซื้อโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์มือสอง ตรวจ S/N ที่แจ้งหาย/ถูกขโมยที่นี่!! BlockSerial.Com
คุณกำลังหาหรืออยากได้อะไรใน karn.tvclick ที่นี่!

โจทย์ แบบฝึกหัด มาใหม่แบบจัดเต็ม ทั้งระดับอนุบาล และ ประถมต้น

สำหรับน้องอนุบาล:  click!
- รูปการ์ตูนลายเส้นขาวดำ สำหรับฝึกระบายสี
- ลีลามือ ในรูปแบบ ลากเส้นบนรูปการ์ตูน เรียงตามเลข และแบบตามเส้นประ
- การ์ตูนภาพสองภาษา และนิทานอีสป อังกฤษ-ไทย ภาพประกอบสวยสดใส

พี่ประถมต้น (ช่วงชั้นที่ 1):
- โจทย์คำถาม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- สนุกกับการทดลองวิทยาศาสตร์
- โจทย์คำถาม ความรู้รอบตัว
- ทดสอบภาษาอังกฤษ click! กับโจทย์คำถาม English; Vocabulary, Grammar, Reading
- เกมถอดรหัส, Coding
- Sudoku 6x6, 9x9 Easy, Hard, Diagonal

บทความวิชาการ: click!
- หมวด กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
- หมวด STEM Education
- หมาวด How to..

รร.อนุบาลดี..ดี อยู่ที่ไหน

พิมพ์อีเมล

( 9 Votes )

รร.อนุบาลดี..ดี อยู่ที่ไหน

ไม่ใช่โรงเรียนเด่นหรือดังหรอกที่เรียกว่าโรงเรียนอนุบาลดีๆ
แต่เป็นเพียงที่เล็กๆ ที่บรรยากาศอบอุ่นเหมือนบ้านและมีที่เล่น
รวมทั้งกิจกรรมหลากหลายช่วยพัฒนาทักษะชีวิตให้ลูกของเรามากกว่า

ใครๆ ก็อยากเลือกโรงเรียนที่ดีมีคุณภาพให้ลูกกันทั้งนั้น แต่คำว่าดีใน มุมมองของเราอาจเป็นเพียงแค่โรงเรียนเก่าแก่ที่มีชื่อเสียง หรือโรงเรียนที่มีชื่อภาษาอังกฤษอันเลิศหรู แล้วคุณๆ เคยถามตัวเองบ้างไหมคะว่า โรงเรียนดังว่ามีหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะกับลูกเราจริงๆ หรือเปล่า หรืออยู่ไกลจนบางครั้งลูกอาจต้องเหน็เหนื่อยกับการเดินทางมากเกินไปไหม หรือเรียนๆ อยู่ลูกกลับซึมเศร้าลงไปทุกวัน เพราะถูกบังคับให้นั่งเขียนแต่ ก-ฮ หรือ A-Z
ถ้าคำว่าดีในมุมมองของเรายังคงคลุมเครืออยู่ เราลองมาฟังทัศนคติที่มองต่างมุมออกไป จาก ดร.พัชรี ผลโยธิน อาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชกันบ้างดีไหมคะ

RL : “โรงเรียนอนุบาลเด็กดีๆในนิยามความเห็นของอาจารย์เป็นอย่างไรคะ
ดร.พัชรี : คำนิยมของโรงเรียน อนุบาลดีๆ มีหลายมุมมอง คำว่าหลายมุมมองในทีนี้คือคนแต่ละคนจะมองโรงเรียนอนุบาลดีๆ แตกต่างกัน เพราะตัวดิฉันเองเป็นนักการศึกษาก็จะมีมุมมอง คือต้องมีองค์ประกอบสำคัญๆ ดังนี้ค่ะ
หนึ่ง อัตราส่วนระหว่างครูกับ เด็ก ถ้าจะให้ถูกต้องตามหลักการ จำนวนเด็กควรเป็น 3 เท่าของอายุเด็กต่อครู 1 คน เช่น เด็ก 4 ขวบ 12 คนต่อครู 1 คน หรือ เด็ก 5 ขวบ 15 คนต่อครู 1 คน ฯลฯ บรรยากาศขณะที่เข้าไปควรให้ความรู้สึกที่อบอุ่น และไม่มีเสียงดังมากจนเกินไป หรือเงียบจนเกินไป
สอง บุคลากรในโรงเรียนทุกๆ คนโดยเฉพาะครูควรได้รับการฝึกฝนและเข้าใจพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างดี นอกจากนั้นควรไวกับความรู้สึกของเด็ก ยอมรับเด็กอย่างที่เขาเป็นหรือยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กดี และมีการสื่อสารกับพ่อแม่เด็ก
สาม หลักสูตรการเรียนการสอน หรือการจัดกิจกรรมให้กับเด็กควรเป็นประสบการณ์ตรง ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นที่ช่วยพัฒนาเด็กอย่างสมดุลทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา นอกจากนั้นครูต้องรู้ว่าจะประเมินเด็กอย่างไรด้วย
สี่ การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภาย ในภายนอกที่เหมาะกับเด็ก เช่น มีมุมเล่นต่างๆ และให้โอกาสเด็กได้เล่นบทบาทสมมติ เด็กจะได้เรียนรู้บทบาทคนที่อยู่แวดล้อมเขา
ห้า เรื่องของอาหารโภชนาการภายในโรงเรียน
หก ความปลอดภัยมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าข้ออื่นๆ
นี่คือมุมมองของนักการศึกษาที่อาจดูเป็นอุดมคติ แต่ถ้าผู้บริหารโรงเรียนและครูเข้าใจ ตระหนักในสิ่งเหล่านี้ โรงเรียนที่ดีสามารถเกิดขึ้นได้ค่ะ

RL : พ่อ แม่ไทยส่วนใหญ่ยังมีคำนิยมว่าโรงเรียนดีๆ คือโรงเรียนที่มีชื่อเสียง ซึ่งค่าเล่าเรียนแพง และอาจอยู่ไกลบ้าน ด้วยเหตุนี้เราพอจะปรับเปลี่ยนทัศนคติดังกล่าวได้อย่างไรบ้างคะ
ดร.พัชรี : เรื่องการเปลี่ยน ค่านิยมค่อนข้างยากและต้องใช้เวลา อย่างเรื่องการเลือกโรงเรียนดีๆ ให้ลูกแต่อาจจะอยู่ไกลบ้าน ตรงนี้พ่อแม่เขาไม่ได้มองว่าการเดินทางไปโรงเรียนไกลๆ ลูกจะเหนื่อย ซึ่งความจริงแล้วมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กอย่างมาก และเด็กวัยนี้ต้องการการพักผ่อนอย่างพอเพียง เด็กเล็กๆ อาจไม่ได้แสดงออกมาให้พ่อแม่เห็น การเลือกโรงเรียนด้วยความคิดแบบนี้พ่อแม่เอาใจตนเองไปคิดแทนลูก ว่าลูกคงอยากเรียนในโรงเรียนดีๆ ซึ่งเข้าใจได้ว่า พ่อแม่เองก็อยากจะให้สิ่งที่ดีที่สุดกับลูก
แต่อย่างไรเสียดิฉันมองว่าเราอย่าไปโทษผู้ปกครองกันเลยค่ะ เพราะก่อนจะให้พ่อแม่เปลี่ยนค่านิยม โรงเรียนควรให้ความเข้าใจกับพ่อแม่ก่อนว่า การเรียนการสอนที่จะช่วยพัฒนาเด็กอย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัยเป็นอย่างไร แล้วพยายามให้พ่อแม่มีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรในโรงเรียน เมื่อพ่อแม่มีส่วนร่วมปรับปรุงหลักสูตรให้ได้อย่างที่ต้องการ ไม่นานหรอกค่ะโรงเรียนต่างๆ จะสามารถปรับมาตรฐานของตนเองให้เคียงคู่กันได้ แล้วค่านิยมการเลือกเรียน เฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงก็อาจจะหมดลงไป

RL : พ่อ แม่ต้องมีส่วนผลักดันให้โรงเรียนต่างๆ มีมาตรฐานเท่าเทียมกันก่อน แล้วค่านิยมการเลือกแต่โรงเรียนที่มีชื่อเสียงของพ่อแม่บางกลุ่ม ก็อาจลดน้อยถอยลงไป
ดร.พัชรี : ถ้า โรงเรียนมีชื่อ เสียงและดีมีคุณภาพ จัดหลักสูตรได้ถูกต้องตามหลักการเราก็อย่าไปต่อต้านเขา พ่อแม่สามารถส่งลูกเรียนได้และลูกมีความสุข แต่ถ้าโรงเรียนมีชื่อเสียงแต่คุณภาพไม่ค่อยดี พ่อแม่ต้องเข้าไปดูในโรงเรียนนั้น ซึ่งโรงเรียนที่เขาเข้าใจเขาจะเปิดให้พ่อแม่เข้าไปชม เข้าไปมีส่วนร่วมตรงนี้ ครูมีความสำคัญมาก และผู้บริหารต้องมีความเข้าใจ จะได้สนับสนุนได้ถูก จุดนี้ดิฉันมองว่าต้องเผยแพร่ความคิดนี้ออกไป และให้หลายๆ โรงเรียนทำ เพื่อสร้างมาตรฐานโรงเรียนต่างๆ ให้เท่าเทียมกัน

RL : ในมุมมองของอาจารย์แล้ว โรงเรียนอนุบาลดีๆ มีมากขึ้นกว่าแต่ก่อนหรือไม่ อย่างไรคะ
ดร.พัชรี : ตอบ ยากค่ะ ถ้าให้เปรียบเทียบเมื่อ 10 ปีที่แล้ว กับสมัยนี้ พบว่ามีความเข้าใจมากขึ้น แต่การทำทฤษฎีไปสู่ปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ยังตีความกันหลากหลาย เพราะฉะนั้นโรงเรียนอนุบาลที่ดีในมาตรฐานของดิฉันเองยังมีไม่มากพอ
เรียกว่าเปอร์เซ็นต์ของโรงเรียนอนุบาลดีๆ ยังถือว่ามีน้อย แม้จะมีมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนก็ตาม ตอนนี้เหมือนเรากำลังมองหาตัวตนของตัวเองอยู่ คือโรงเรียนต่างๆ มักจะนำนวัตกรรมมาใช้ โดยไม่ได้ปรับเข้ากับความเป็นตัวตน หรือการเรียนการสอนที่โรงเรียนมีอยู่ ดังนั้นพื้นฐานเก่ายังไม่แน่น พอรับนวัตกรรมใหม่ๆ เข้า โดยไม่ศึกษาข้อด้อยของนวัตกรรมนั้นๆ ให้ดีพอ หลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนส่วนใหญ่ จึงยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าพอใจอยู่ค่ะ

RL : พ่อ แม่หลายคนให้ลูกเรียนในโรงเรียนเตรียมความพร้อม แต่เอาเข้าจริงก็ยังไม่มีความมั่นใจว่าลูกจะเรียนต่อยังชั้นประถมในโรงเรียน อื่นๆ ได้ทันกับเด็กที่อยู่ในโรงเรียนเร่งเรียนมาก่อน
ดร.พัชรี : โรงเรียน เองต้องมี ความเชื่อในเรื่องการเตรียมความพร้อม ต้องให้ความมั่นใจ และชี้ประเด็นให้พ่อแม่เห็นว่า เด็กเรียนในโรงเรียนเตรียมความพร้อมสามารถตามเด็ก ที่เรียนในโรงเรียนเร่งเรียนทัน อย่างโรงเรียนอนุบาลสามเสน เขาสอนแบบเตรียมความพร้อม และจะมีการติดตามผลเด็กตั้งแต่อนุบาลไปถึง ป.1-ป.2 และยาวไปถึง ป.5-ป.6 ปรากฏว่าเด็กที่เรียนแบบเตรียมความพร้อม สามารถเรียนทันเด็กที่เรียนมาแบบเร่งเรียน และที่สำคัญเด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน ทั้งยังใฝ่รู้ ใฝ่เรียนอีกด้วย
ดังนั้นโรงเรียนจำเป็นต้องทำให้พ่อแม่เกิดความเชื่อมั่นและให้กำลังใจกับพ่อ แม่ว่า พื้นฐานการเรียนแบบนี้ดีอยู่แล้ว และเมื่อเด็กพื้นฐานมั่นคงต่อไปเขาจะเรียนอะไรก็ได้

RL : พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเราอยู่ในโรงเรียนที่ดีแล้ว
ดร.พัชรี : เรา จะรู้ว่าลูกไป โรงเรียนที่เหมาะสมหรือไม่นั้น ก็ดูที่เวลากลับมาจากโรงเรียนแล้วลูกมีความสุขหรือเปล่า กลับมาแล้วมีเรื่องมาเล่ามาคุยให้พ่อแม่ฟังหรือไม่ อีกอย่างลูกไม่งอแงเวลาจะไปโรงเรียนในตอนเช้า
พ่อแม่ต้องสังเกตว่าลูกมีความสุข ณ ปัจจุบันหรือเปล่า และเมื่อลูกมีความสุข พ่อแม่ก็สุขใจด้วยที่ลูกเต็มใจกับการที่ลูกไปอยู่ในโรงเรียนนั้น อย่างไรก็ดีพ่อแม่ควรแยกแยะให้ออกนะคะว่า ลูกมีความสุขเพราะอยู่ในโรงเรียนที่เน้นแต่เล่น โดยไม่มีจุดมุ่งหมายอย่างแท้จริงหรือเปล่า คือความสนุกที่ลูกได้จากโรงเรียนมันเกิดการเรียนรู้ขึ้นไหม ซึ่งพ่อแม่ก็ต้องรู้ด้วยว่าหลักสูตรของโรงเรียนนั้นๆ เขาเน้นให้ลูกเราเล่นอย่างมีจุดมุ่งหมาย หรือเล่นเพื่อความสนุกสนานอย่างเดียว

RL : พ่อ แม่ต้องรู้ว่าอยากให้ลูกเรียนในโรงเรียนแบบไหน แล้วค่อยนำมาตรฐานโรงเรียนอนุบาลดีๆ ที่บอกข้างต้นมาปรับใช้กับความต้องการของตัวเอง
ดร.พัชรี : ถ้า เรานำหลักการที่ เกริ่นมาตั้งแต่ต้นมาเลือกโรงเรียนให้ลูก คงเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ บางโรงเรียนเขามีจุดแข็งตรงนี้ แต่บางจุดเขาก็พยายามพัฒนาอยู่ ตรงนี้พ่อแม่ต้องถามตัวเองก่อนว่าเรารับได้ไหมในข้อด้อยตรงนั้น แล้วก็มาเสริมลูกเองที่บ้านด้วยอีกทางหนึ่ง หรือพ่อแม่สามารถรวมกลุ่มกันแล้วทำความเข้าใจกับโรงเรียน โดยบอกโรงเรียนว่าต้องการให้เขาสอนลูกไปในแบบนี้ โรงเรียนจะได้เริ่มตื่นตัวแล้วหายุทธวิธีช่วยพัฒนาเด็กในสิ่งที่พ่อแม่ต้อง การ

ท้ายสุด ด้วยพลังจากกลุ่มพ่อแม่นี่เองแหละค่ะ ที่จะช่วยสร้างโรงเรียนอนุบาลดีๆ ตามแบบที่เราใฝ่ฝันกันมานาน