ป้ายโฆษณา



ป้ายโฆษณา

ก่อนซื้อโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์มือสอง ตรวจ S/N ที่แจ้งหาย/ถูกขโมยที่นี่!! BlockSerial.Com

สอนลูกให้รอดชีวิตจากไฟไหม้

พิมพ์อีเมล

( 2 Votes )
สอนลูกให้รอดชีวิตจากไฟไหม้

จากเหตุการณ์เพลิงเผาผลาญซานติก้าผับ หลังช่วงเคานดาวน์ต้อนรับปี 2552
หลังมหันตภัยในครั้งนี้ คงจะมีการสืบหาสาเหตุ ตลอดจนเอาผิดกับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ
ซึ่งก็จะต้องว่ากันไปตามกฎหมายล่ะครับ
ในส่วนของพวกเรา ก็ควรใช้โอกาสนี้ สร้างวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการสอนลูกๆหลานๆถึงวิธีการ...เอาชีวิตรอดจากไฟไหม้ ยิ่งแถมด้วยการชวนเล่นการซ้อมหนีไฟ เด็กๆก็จะได้ทั้งความสนุกสนาน และยังได้ทักษะเพื่อความปลอดภัยติดตัวไปใช้ได้ในยามวิกฤต...

ผมมีข้อคิด ข้อแนะนำมาเสนอดังต่อไปนี้ครับ...

ผมจึงมีข้อคิดข้อแนะนำมาเสนอดังต่อไปนี้ครับ...

1.  ปัญหาใหญ่ที่มักจะเกิดขึ้น เมื่อมีเหตุการณ์ไฟไหม้บ้านคืออะไร
คือ ความหวาดกลัวอย่างสุดขีดของคนในบ้าน จนร้อนรนสับสนและทำอะไรไม่ถูก กระทั่งตกเป็นเหยื่ออยู่ในกองเพลิงกันทั้งครอบครัว!
ดังนั้น การเตรียมการไว้ล่วงหน้า จึงมีความสำคัญ ยิ่งทำให้มันเป็นการเล่นที่สนุกๆก็น่าที่เด็กๆจะชอบใจ กระทั่งกลายเป็นกิจกรรมเสริมสร้างความรักความห่วงใย และความสามัคคี
อาจจะเริ่มโดยการล้อมวงเข้ามาคุยกัน วางแผนกัน โดยสอนให้ลูกเห็นความสำคัญของการตั้งสติ และพยายามควบคุมอารมณ์ตื่นตระหนก ในขณะเดียวกันก็ต้องว่องไวรวดเร็ว ควรแบ่งหน้าที่กัน และฝึกในบทบาทนั้นๆให้คล่องแคล่ว  เช่น เมื่อเกิดเหตุร้ายหรือเพลิงไหม้ ใครจะเป็นคนโทรแจ้ง 191  199 หรือ หน่วยดับเพลิงท้องที่  ใครจะรีบไปเอาเครื่องดับเพลิง และใครจะฉีดเพื่อบรรเทาไว้ก่อน...ใครจะรีบคว้ากุญแจไปเปิดประตูบ้าน...ใครจะ รีบไปเอาผ้าห่ม เอาผ้าชุบน้ำ ฯลฯ...
กิจกรรมการหนีอัคคีภัยไฟนี้ รวมทั้งการฝึกหัดการก้มหน้า-กลิ้งตัว-และ หมอบคลาน และไถพื้น มุ่งไปสู่ทางออกอีกด้าน...
* สอนลูกว่า ห้ามวิ่ง! หากมีไฟติดตามตัว ตามเสื้อผ้า มิฉะนั้นไฟจะยิ่งลามตามแรงวิ่งและแรงลม 
วิธีที่ถูกต้องก็คือ...ให้ หยุด – ย่อ –วิ่ง ... คือ หยุดวิ่ง และ ย่อตัวลงต่ำๆ พร้อมปิดหน้าด้วยมือทั้งสอง จากนั้นก็กลิ้งไปกลิ้งมาเพื่อทับไฟที่กำลังลามนั้น

2.  ผู้ใหญ่หลายคนเมื่อได้ยินใครตะโกนว่าไฟไหม้...ไฟไหม้ก็ ถึงกับตกใจสุดขีด แต่แทนที่จะรีบหาหนทางให้ลูกๆหลานๆและตนเองได้หนีเพลิงอย่างปลอดภัย กลับลนลานควานหาแต่ทรัพย์สมบัติของตน และพยายามหอบหวงให้ครบถ้วนที่สุด กระทั่งพระเพลิงโหมเข้ามาถึงตัว…สุดท้าย ก็เหลือเพียงซาก ในขณะที่สองมือยังกำแก้วแหวนเงินทอง ที่ไปเอาไม่ได้แม้แต่ชิ้นเดียว!

3.  สอนลูกให้รู้จักแจ้งเหตุเพลิงไหม้ โดยจดเบอร์ 191  199
หรือเบอร์หน่วยดับเพลิง
ไว้ในที่ๆลูกเห็นได้ง่ายๆ จากนั้นก็ช่วยติวให้ลุกๆรู้จักควบคุมสติ อย่าร้อนรน แล้วพูดด้วยเสียงดังฟังชัด ด้วยประโยคว่า   เกิดอะไรขึ้น?(ไฟไหม้) ...  ที่ไหน?(สถานที่เกิดเหตุ)...บอกชื่อและเบอร์โทรของเรา...ฝึกให้คล่องแคล่ว และยิ่งมีประโยชน์มากในกรณีไม่มีผู้ใหญ่อยู่ในบ้านเลย

4. อีกกรณีที่แม้จะมีหรือไม่มีผู้ใหญ่อยู่บ้าน ได้เกิดปัญหาอันสร้างความเดือดร้อนรำคาญ
ให้แก่หน่วยงานรับแจ้งเสมอมา ก็คือ จู่ๆก็มีเสียงอ้ายหนู-นังหนูจอมซนโทรมาแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย
 ทั้งไฟไหม้  ขโมยขึ้นบ้าน  ประสบอุบัติเหตุ ...ฯลฯ ...
 
แต่หลังจากทางเจ้าหน้าที่กระหืดกระหอบไปถึงที่(อ้างว่า)เกิดเหตุ  กลับปรากฏว่า...โดนเด็กหลอก!

ดังนั้น พวกเราในฐานะพ่อแม่จะต้องบอกให้ลูกรู้ว่า เด็กคนใดกระทำการที่ว่านี้นอกจากทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนแล้ว ยังจะมีความผิดตามกฎหมายอีกด้วย

5.  “ ไฟฉายจะเป็นสิ่งที่พวกเราคิดถึงที่สุดในยามไฟไหม้ อันตราย เหลือเกินที่จะฝ่าควันไฟในความมืด  เพื่อความสบายใจจงเตรียมไฟฉาย(ใส่ถ่านให้พร้อมด้วย)ไว้บนหัวเตียงและเก็บไว้ เป็นสมบัติประจำตัวของทุกคน

6.  “ เครื่องตรวจจับควันไฟ”   เมื่อเราได้ดูหนังฝรั่ง หากมีฉากไฟไหม้ควันโขมง เราก็มักจะได้เห็นเจ้าตัวขาวๆกลมๆเล็กๆที่แปะอยู่บนเพดาน ร้องเตือนเสียงดังลั่น  ทำให้มักจะสงสัยว่า เหตุใดเจ้าเครื่องตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) จึงไม่ค่อยแพร่หลายในบ้านเรา ทั้งที่เป็นสิ่งเตือนภัยที่ทำให้เราแก้ไขสถานการณ์ไฟไหม้ได้ทัน ทั้งๆที่ราคาก็พอรับได้ ( ราว ตัวละ 600 – 1000 บาท )

7.  หากต้นเพลิงเกิดจากห้องใดห้องหนึ่งในบ้าน ให้รีบปิดประตู และหน้าต่างห้องนั้นให้สนิท
(แต่ต้องเช็คให้แน่ๆว่าไม่มีใครหลงเหลืออยู่ในห้องนั้น) เพราะเมื่อห้องปิดแน่น ไฟที่กำลังไหม้ก็จะลดลง และอาจดับไปได้เอง (เพราะขาดอากาศ)

8.   สอนลูกว่าอย่าวิ่งฝ่าควันไฟ   จริงอยู่ยามหน้าสิ่วหน้าขวานทุกคนย่อมทำ ทุกวิธีที่จะเอาชีวิตรอด ยิ่งตกอยู่ท่ามกลางกลองเพลิง ทางไหนที่พอมีหวังก็มักจะรีบลุยเข้าไปอย่างไม่ทันยั้งคิด ทั้งๆที่ 80% ของผู้ที่เสียชีวิตในกองเพลิงนั้นเกิดจากการขาดอากาศหายใจ และสำลักควัน
เนื่องจากควันอันโขมงนั้น ประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนมอนน็อคไซด์ และไอร้อน ที่ลอยตัวอยู่ด้านบน อากาศด้านล่าง(เกือบติดพื้น)จึงยังพอมีออกซิเจน  หรือจะให้ดี(ถ้าเป็นไปได้)ก็ควรใช้ถุงพลาสติคใหญ่ครอบศีรษะไว้ ซึ่งทำให้ได้รับออกซิเจน ทั้งยังช่วยกันไอร้อนได้ด้วยการหายใจในขณะฝ่าควันไฟก็คือ หายใจสั้นๆทางจมูก  และอย่าหายใจทางปาก

9.  หากโชคร้ายต้องติดแหง็กอยู่ในห้อง ก่อนที่ไฟจะลามเข้ามา สิ่งที่ต้องป้องกันไว้ก่อนก็คือควัน ควันไฟจะทะลักเข้ามาในห้อง จนเป็นภัยถึงแก่ชีวิตได้
ดังนั้นจึงควรรีบหาทางป้องกัน หรือบรรเทาซะก่อน โดยการเอาผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม หรือผ้าเช็ดตัวชุบน้ำให้เปียก แล้วอุดตามขอบประตู และตามช่องต่างๆในห้อง

10. ในขณะที่ไฟยังไม่ยุติ หรือแม้แต่หลังเพลิงมอดใหม่ๆ  ขอเตือนว่า...อย่าจับลูกบิดประตูด้วยมือเปล่าเป็นอันขาด เพราะว่า ความร้อนระอุของมันจะทำให้มือของคุณพองไหม้ได้ทันที 
ดังนั้น จงใช้ผ้าหนาๆชุบน้ำ และหุ้มมือก่อนจะเปิด หรือปิด  ( หรือ..ถ้าขณะนั้นคุณใส่รองเท้า จงใช้เท้าถีบอย่างแรงเพื่อเปิดประตูก็น่าจะดีกว่า )

11. หากจะช่วยเด็กหรือใครก็ตามที่ติดอยู่ในห้องที่มีเพลิงไหม้  ก็ ไม่ควรเสี่ยงเปิดประตูผลั้วโดยทันทีเพราะเพลิงอาจโหมออกมาจากห้องอย่างทันที ทันใด และเราก็อาจกลายเป็นเจ้าชาย  ที่โดนมังกรยักษ์พ่นไฟ จนตัวไหม้เกรียม! วิธีที่ถูกต้องก็คือ เปิดประตูโดยใช้ผ้าชุบน้ำที่แนะนำไว้แล้วข้างต้น โดยให้ยืนอยู่หลังประตู แล้วค่อยๆแง้มประตูเข้าหาตัว เป็นการใช้ประตูบังตัวเรา จากไฟที่อาจพุ่งโพล่งออกมา...

 

ที่มา : ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

ขอขอบคุณ : http://www.csip.org