ป้ายโฆษณา



ป้ายโฆษณา

ก่อนซื้อโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์มือสอง ตรวจ S/N ที่แจ้งหาย/ถูกขโมยที่นี่!! BlockSerial.Com



Momoji ชุดนอน เด็ก ลิขสิทธิ์ Disney ดิสนีย์ ลาย Mickey MouseMomoji ชุดนอน เด็ก ลิขสิทธิ์ Disney ดิสนีย์ ลาย Mickey Mouse คลิ๊กที่นี่!


Homework..ทำอย่างไรให้ Work

พิมพ์อีเมล

( 7 Votes )

Homework..ทำอย่างไรให้ Work

ถ้าลูกวัยอนุบาลทำการบ้านไม่ได้ หรือพบว่าคำตอบที่ลูกเขียนนั้นไม่ถูกต้อง หรือจำนวนการบ้านที่คุณครูให้ลูกทำมีมากมายจนน่าตกใจ ฯลฯ คุณพ่อคุณแม่ทำอย่างไรคะ หากยังไม่เคยมีประสบการณ์ หรือไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ทำไปดีหรือไม่ดี นำคำแนะนำดีๆ จาก ดร.อรชา ตุลานันท์ นักวิชาการอิสระ ไปใช้สิคะ

ทำไมต้องมีการบ้าน?
เด็กนักเรียนกับการบ้านดูจะเป็นของคู่กันอย่างแยกไม่ออกแต่สำหรับในเด็กวัย อนุบาลนั้น เรื่องของการบ้านยังคงมีอีกหลายความคิดเห็นค่ะ คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่านชอบให้ลูกมีการบ้านเพราะรู้สึกว่าลูกจะได้ฝึกทักษะเพิ่มขึ้น กลัวว่าลูกเรียนเฉพาะที่โรงเรียนในช่วงครึ่งสันแรกก่อนจะนอนกลางวันในช่วง บ่าย วิชาการที่ได้จะไม่เพียงพอ และยังรู้สึกอีกว่าเมื่อลูกมีการบ้านจะช่วยฝึกความรับผิดชอบ รวมถึงเรื่องการรู้จักแบ่งเวลา
ดร.อรชาบอกค่ะว่า เห็นด้วยในระดับหนึ่ง ในประเด็นที่บอกว่าทักษะบางอย่างถ้ามีการฝึกฝนบ่อยๆ เด็กจะทำได้ดีขึ้น แต่สำหรับเด็กเล็กนั้น การฝึกทักษะต้องมาพร้อมกับความสนุกสนานด้วยค่ะและสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเด็ก อนุบาล คือ เรื่องทัศนคติ ความอยากรู้อยากเห็น ความตื่นเต้นและความสนุกสนานในการเรียนรู้ไมได้เน้นที่การฝึกทักษะให้มากๆ เพราะอะไรที่มากเกินไปมักจะไม่เหมาะกับเด็กเล็ก
ส่วนเรื่องความรับผิดชอบ หรือสอนการให้รู้จักแบ่งเวลานั้นคุณพ่อคุณแม่สอนจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ของลูกก็ได้ค่ะ เช่น ทำตารางกิจกรรมต่างๆ เวลาอ่านหนังสือ เวลาออกไปวิ่งเล่นเวลาช่วยคุณพ่อคุณแม่จัดโต๊ะอาหาร เป็นต้น โดยไม่จำเป็นต้องมุ่งมาที่เรื่องการบ้านเพียงอย่างเดียวหรอกนะคะ

ช่วยลูกทำการบ้าน
คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเจ้าตัวเล็กทำการบ้านได้โดยการเตรียมและปฏิบัติดังนี้ค่ะ

  • สถานที่ ควร จัดสถานที่ให้เงียบสงบหน่อย เช่น ไม่มีคนเปิดทีวีอยู่ใกล้ๆ ทำให้ดึงความสนใจของลูกไปไม่มีน้องเล็กๆ มาเล่นชวนให้เบี่ยงเบนความสนใจ ควรเป็นที่ที่อากาศดี แสงสว่างพอเหมาะ
  • ใจเย็นและให้กำลังใจ แนะ นำลูกทีละสเต็ป เช่น อาจจะค่อยๆ ถามเขาดูก่อนเกี่ยวกับเรื่องความเข้าใจในการบ้านของเขา คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรจะรีบบอกคำตอบต้องให้เวลาเขาคิดค่ะ
  • ชื่นชมเป็นระยะ ควรชื่นชมในความตั้งใจ ความพยายาม ความอดทนในการทำการบ้านของลูก เพราะจะทำให้เขามีกำลังใจมากขึ้นค่ะ

อย่างไรคือการบ้านที่ดี
ลักษณะของการบ้านที่ดีสำหรับเด็กเล็กในมุมมองนักวิชาการ คือ มีลักษณะเป็นกิจกรรมอะไรก็ได้ ที่ต้องทำร่วมกันระหว่างพ่อแม่และลูกเป็นหลัก โดยมีจุดประสงค์ดังนี้

  • มีการเชื่อมโยงระหว่างบ้านกับโรงเรียน เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้มีส่วนร่วมและรับรู้ว่า ลูกกำลังทำอะไร เรียนอะไรอยู่บ้าง
  • เป็นกระบวนการที่พ่อแม่และลูกได้เรียนรู้ไปด้วยกัน เพื่อหาข้อมูลหรือฝึกฝนบางอย่าง แต่เป็นการฝึกที่ไปด้วยกัน โดยมีคุณพ่อคุณแม่ช่วยไกด์เป็นส่วนมาก

และที่สำคัญต้องไม่มากจนเกินไป ถ้ารู้สึกว่าการบ้านของลูกมีมากเกินไป คุณพ่อแม่ต้องสื่อสารให้คุณครูทราบ เคยมีการวิจัยค้นพบมาแล้วว่า ยิ่งเร่งเด็กมากเท่าไหร่ ความเข้าใจลึกซึ่งต่อเรื่องนั้นๆ จะยิ่งน้อยค่ะ

ถ้าลูกทำการบ้านผิด
หากคุณพ่อคุณแม่ตรวจการบ้านของลูก แล้วพบว่าคำตอบของลูกไม้ตรงกับสิ่งที่ควรจะเป็น อย่ารีบตัดสินใจในสิ่งที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ คิดว่าเป็นเรื่องที่มีคำตอบชัดๆ อยู่แล้ว แต่ควรถามลูกก่อนว่า ทำไมเขาจึงคิดและตอบแบบนั้น เช่น การบ้านคือให้จับคู่ระหว่างสัตว์กับอาหารโปรด แต่ลูกจับคู่แมวกับผัก เพราะจากประสบการณ์ของลูก เขาเคยเห็นแมวกินผัก
การที่ลูกสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์จริงเข้ากับแบบฝึกหัด เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมนะคะ แม้ว่าจะไม่ใช่คำตอบที่ครูต้องการหรือไม่ใช่คำตอบที่ผู้ใหญ่คิดว่าเป็นเป็น เรื่องถูกต้องก็ตาม ฉะนั้นสิ่งที่ลูกตอบแต่ไม่ตรงกับผู้ใหญ่คิด ไม่ได้หมายความว่าเขาตอบผิดนะคะ เพราะบางเรื่องสามารถตอบได้หลายอย่างมากกว่าที่เราคิดค่ะ
กรณีนี้ หากโรงเรียนที่มีคุณครูที่เข้าใจพัฒนาการเด็ก แล้วคุณพ่อคุณแม่เขียนโน้ตลงไปว่า ลูกเคยเห็นแมวกินผักก็เลยตอบแบบนี้ คุณครูก็จะเข้าใจค่ะ แต่ถ้าเป็นโรคเรียนที่ต้องการจะเน้นความถูกต้องทางวิชาการ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจในสิ่งที่ควรเป็น อาจชวนลูกไปค้นคว้าเพิ่มเติมในหนังสือ เช่น สารานุกรม เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ว่าเขาจะไปค้นคว้าหาคำตอบได้จากที่ไหนค่ะ

หากต้องการให้เจ้าจอมซนมี ทัศนคติที่ดีต่อการเรียน คุณพ่อคุณแม่ต้องจัดสรรเวลาให้ลูกได้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างพอเหมาะพอดี ให้ลูกได้มีเวลาทำการบ้าน มีเวลาพักผ่อน และมีเวลาสนุกตามวัยของเขาด้วยค่ะ

 

แหล่งที่มาของข้อมูล
 นิตยสารรักลูก ปีที่ 25 ฉบับที่ 300 มกราคม 2551